กระชาย, กะซาย
ชื่ออื่นๆ : กะแอน (อีสาน, เหนือ) กะซาย, ขิงซาย (อีสาน) จี๊ปู (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน) ซีพู (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน) เป๊าะซอเร้าะ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) เป๊าะสี่ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) ละแอน (เหนือ) ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ)
ต้นกำเนิด : ประเทศจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชื่อสามัญ : กระชายดำ กระชายแดง กระชายเหลือง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Boesenbergiarotunda(L.)Mansf
ชื่อวงศ์ : Zingiberaceae
ลักษณะของกระชาย, กะซาย
ต้น เป็นพืชล้มลุกไม่มีลำต้นบนดิน มีเหง้าใต้ดินซึ่งแตกรากออกไปเป็นกระจุกจำนวนมาก อวบน้ำ ตรงกลางพองกว้างกว่าส่วนหัวและท้าย มีความสูงประมาณ 2-3 ฟุต มีลำต้นใต้ดินเรียกว่า “เหง้า” เป็นเหง้าสั้นแตกหน่อได้ เช่นเดียวกับขิง ข่า และขมิ้น รากอวบรูปทรงกระบอกหรือรูปไข่ค่อนข้างยาวปลายเรียวแหลมออกเป็นกระจุก มีผิวสีน้ำตาลอ่อนเนื้อใบสีเหลืองมีกลิ่นหอมเฉาะตัว ส่วนที่อยู่เหนือดินเป็นกาบใบที่หุ้มซ้อนกันเป็นชั้น ๆ สีแดงเรื่อ ๆ
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับเป็นระนาบเดียวกัน รูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 4.5-10 เซนติเมตร ยาว 13-15 เซนติเมตร ตรงกลางด้านในของก้านใบมีร่องลึก
ดอก ดอกเป็นช่อ ออกแทรกอยู่ระหว่างกาบใบที่โคนต้น กลีบดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน ใบประดับรูปใบหอกสีม่วงแดงดอกย่อยบานครั้งละ1ดอก
การขยายพันธุ์ของกระชาย, กะซาย
ใช้หัว/เหง้า/หน่อ
ธาตุอาหารหลักที่กระชาย, กะซายต้องการ
ประโยชน์ของกระชาย, กะซาย
- เป็นพืชที่ใช้เป็นส่วนผสมของอาหารโดยเฉพาะรากกระชาย ใช้เป็นเครื่องจิ้มหรือเป็นส่วนประกอบของน้ำพริกแกงโดยเฉพาะแกงที่ใส่ปลา เช่น แกงป่า ต้มโฮกอือ กระชายดับกลิ่นคาวของปลาได้ดี
- ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้เหง้าแก้โรคในปากเช่นปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากแห้ง ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ รักษาโรคบิด แก้ปวดมวนท้อง
จากการทดลองในสารสกัดแอลกอฮอล์และคลอโรฟอร์ม พบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังและในปากได้ดีพอควร
สรรพคุณทางยาของกระชาย, กะซาย
ตำรายาไทย ใช้เหง้าแก้โรคในปากเช่นปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากแห้ง ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ รักษาโรคบิด แก้ปวดมวนท้อง จากการทดลองในสารสกัดแอลกอฮอล์และคลอโรฟอร์ม พบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังและในปากได้ดีพอควร
กระชายมีสารต่างๆจึงมีสรรพคุณทางที่ช่วยในการแก้โรคต่าง ๆ ดังนี้
- สรรพคุณในการบำรุงกำลัง
- สรรพคุณในการแก้องคชาตตาย
- สรรพคุณแก้ปวดข้อ
- สรรพคุณแก้วิงเวียน แน่นหน้าอกมสรรพคุณแก้ท้องเดิน
- สรรพคุณแก้แผลในปาก
- สรรพคุณแก้ฝี
- สรรพคุณแก้กลาก
- สรรพคุณแก้บิด
- สรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ
- และในกระชายยังมีสารอาหารที่มีประโยชน์แก่ร่างกายซึ่งจะพบตรงเหง้าของกระชาย คือ แคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินต่าง ๆ ซึ่งมีประโยชน์แก่ร่างกาย
คุณค่าทางโภชนาการของกระชาย, กะซาย
การแปรรูปของกระชาย, กะซาย
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2
https://www.flickr.com
4 Comments