กระดังงาจีน ดอกมีกลิ่นหอม นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ปลูกเป็นซุ้มตามทางเดินเพื่อให้ร่มเงา

กระดังงาจีน

ชื่ออื่นๆ : กระดังงาจีน (ภาคกลาง), สะบันงาจีน (ภาคเหนือ), การเวก สะบันงาเครือ

ต้นกำเนิด : อินเดียตอนใต้และศรีลังกา

ชื่อสามัญ : Climbing lang-lang, Ylang-ylang vine

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artabotrys hexapetalus (L.f.) Bhandari

ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE

ลักษณะของกระดังงาจีน

ต้น  ไม้เถาเนื้อแข็ง เลื้อยพาดซุ้มหรือค้าง ผิวของกิ่งก้านค่อนข้างเรียบ ยอดอ่อนมีขน

ใบ  ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรี ปลายแหลม โคนสอบ ขอบเรียบ แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีจางกว่าและมีขนประปรายตามเส้นกลางใบ

ดอก  ดอกออกตรงข้ามกับใบ ก้านแบนและโค้งงอคล้ายขอ ดอกใหญ่มี 1-5 ดอก ออกตามส่วนโค้งของก้านช่อดอก ดอกอ่อนสีเขียว มีขน เมื่อแก่สีเหลือง ผิวค่อนข้างเรียบ กลิ่นหอม กลีบเลี้ยง 3 กลีบ รูปสามเหลี่ยม ปลายกลีบกระดกขึ้น กลีบดอกเรียงสลับกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ รูปขอบขนานปลายแหลม โคนกลีบเว้าคล้ายรูปไข่ป้อมและโค้งแนบกับโคนกลีบชั้นใน มีจุดกระสีแดงที่ด้านในของโคนกลีบ เนื้อกลีบหนา ด้านในมีสันกลางกลีบ กลีบดอกชั้นในคล้ายกลีบชั้นนอกแต่ขนาดเล็กกว่า เกสรเพศผู้เล็ก มีจำนวนมาก เกสรเพศเมียมีหลายอัน อยู่แยกกัน แต่ยอดเกสรเพศเมียมีเมือกเหนียวติดกัน ดอกดก กลิ่นหอมแรง

ผล  เป็นผลกลุ่ม กลุ่มละ 4-20 ผล แต่ละผลรูปรีป้อมหรือรูปไข่กลับ ก้านผลสั้น ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง แต่ละผลมี 1-2 เมล็ด

กระดังงาจีน
กระดังงาจีน ไม้เถาเนื้อแข็ง ใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน
ดอกกระดังงาจีน
ดอกกระดังงาจีน ดอกอ่อนสีเขียว มีขน ดอกแก่สีเหลือง

การขยายพันธุ์ของกระดังงาจีน

เพาะเมล็ด, ปักชำ, ตอนกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่กระดังงาจีนต้องการ

ประโยชน์ของกระดังงาจีน

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ปลูกเป็นซุ้มตามทางเดินริมถนนเพื่อให้ร่มเงา แต่ควรตัดแต่งอยู่เสมอ กระดังงาจีนลักษณะคล้ายกับการเวกแต่มีดอกดก กลิ่นหอมแรงกว่า  ดอก มีกลิ่นหอม ใช้ทำน้ำหอมและใส่ในใบชา

ผลกระดังงาจีน
ผลกระดังงาจีน ผลรูปรีป้อม ผลแก่เป็นสีเหลือง

สรรพคุณทางยาของกระดังงาจีน

ผล มีสรรพคุณรักษาโรคผิวหนัง
ดอกมีกลิ่นหอมนิยมนํามาสกัดน้ำมันหอมระเหย ยาหอม เอาไว้ใช้ทานวดและใช้ด้านความสวยงาม ทุกส่วนใช้เป็นยาสมุนไพรได้

คุณค่าทางโภชนาการของกระดังงาจีน

การแปรรูปของกระดังงาจีน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11863&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment