กระดุมใบใหญ่ พืชคลุมดิน ใบใช้เป็นอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้องได้

กระดุมใบใหญ่

ชื่ออื่นๆ : กระดุมใบใหญ่ (ภาคใต้) หญ้าขี้กระต่าย หญ้าเขมร

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : หญ้าขี้กระต่าย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spermacoce latifolia Aubl.

ชื่อวงศ์ :  Rubiaceae

ลักษณะของกระดุมใบใหญ่

ต้น : ไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรงเป็นสัน มีขนาดเล็กสูงประมาณ 10-20 เซนติเมตร ลำต้นและใบมีสีเขียวใส ลำต้นเปราะหักง่าย
ใบ : ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนาเป็นคลื่นเล็กน้อย หูใบติดเชื่อมกับก้านใบ ขอบเป็นชายครุย ก้านและใบมีขนเล็กน้อย
ดอก : ช่อดอกแบบช่อกระจุก ไม่มีก้านดอก ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกสีขาวขนาดเล็ก สมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยง 4 กลีบ เชื่อมติดกันที่โคน ปลายแยกเป็น 4 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกันที่โคน ปลายแยกเป็น 4 กลีบ สีขาว ภายในหลอดดอกมีขน เกสรเพศผู้ติดที่ปลายหลอดดอก 4 อัน รังไข่ใต้วงกลีบ มี 2 ช่อง แต่ละช่องมี 1 ออวุล ยอดเกสรเพศเมียเป็นพู 2 อัน
ผล : ผลแห้งแตกกลางผล ส่วนบนแตกออกพร้อมพูกลีบ เมล็ดรูปรี

ต้นกระดุมใบใหญ่
ต้นกระดุมใบใหญ่ ลำต้นตั้งตรงเป็นสัน ลำต้นและใบมีสีเขียวใส ก้านและใบมีขนเล็กน้อย
ใบกระดุมใหญ่
ใบกระดุมใหญ่ รูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนาเป็นคลื่นเล็กน้อย

การขยายพันธุ์ของกระดุมใบใหญ่

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่กระดุมใบใหญ่ต้องการ

ประโยชน์ของกระดุมใบใหญ่

ใช้คลุมดินให้ชุ่มชื้น ใบใช้เป็นอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้องได้

สรรพคุณทางยาของกระดุมใบใหญ่

ราก นำมาต้มใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย ขับลมในกระเพาะ ต้มแล้วจะมีรสขมฝาด

คุณค่าทางโภชนาการของกระดุมใบใหญ่

การแปรรูปของกระดุมใบใหญ่

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11815&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment