กระดูกไก่ ไม้พุ่ม ดอกสีขาว ดอกไม่มีกลีบดอกหรือกลีบรองดอก

กระดูกไก่

ชื่ออื่นๆ : กระดูกไก่ (ภาคกลาง) เกตุเมือง, ฝอยฝา (กรุงเทพฯ) หอมไก่ (ภาคเหนือ)  หอมไก๋ (พายัพ) กระดูกไก่ (ใต้)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : กระดูกไก่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chloranthus erectus

ชื่อวงศ์ : CHLORANTHACEAE

ลักษณะของกระดูกไก่

ต้น  เป็นพรรณไม้พุ่มที่มีความสูงประมาณ 0.5-2.5 เมตร ลำต้นมีข้อบวมพอง

ใบ  ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ใบมีลักษณะเป็นรูปรี หรือรูปหอก ปลายและโคนเป็นใบเรียวแหลม ขนาดของใบกว้างประมาณ 1.5-4 นิ้ว ยาวประมาณ 3-8 นิ้ว ริมขอบใบหยัก ผิวใบบาง ก้านใบยาวประมาณ 0.2-1.5 ซม.

ดอก  ดอกออกเป็นช่อ ติดก้านช่อดอก ดอกไม่มีกลีบดอกหรือกลีบรองดอก แต่จะไม่มีใบประดับและเกสรตัวผู้เป็นสีขาว ซึ่งจะออกเรียงกันอยู่ข้างใน และมีอับเรณู 4 พู รังไข่ 1 ช่อง เชื่อมติดกันอยู่โคนใบประดับ

ผล  ผลมีลักษณะยาวประมาณ 6-7 มม. ผลสดจะมีสีขาว ภายในเมล็ดมี 1 เมล็ด เป็นเมล็ดที่แข็ง ค่อนข้างกลม

ต้นกระดูกไก่
เนื้อในบาง ด้านบนสีเข้มกว่าด้านล่าง

การขยายพันธุ์ของกระดูกไก่

การเพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่กระดูกไก่ต้องการ

ประโยชน์ของกระดูกไก่

ใช้ในการพอกแผล แก้พิษงูหรือแมลงกัดต่อย

กระดูกไก่
ดอกสีขาว หอม ไม่มีก้านดอก

สรรพคุณทางยาของกระดูกไก่

ส่วนที่ใช้ : ลำต้น ราก และใบ

  • ลำต้น ใช้เป็นยากระตุ้น ยาระงับการเกร็งของกล้ามเนื้อใช้นำมาต้มกับเปลือกของพวกอบเชย (cinnamomum) รับ
  • ประทาน รากและใบ ใช้แก้ไข้ กามโรค ยาขับเหงื่อ นำมาชงเป็นชาดื่ม อ้างอิง : พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม

คุณค่าทางโภชนาการของกระดูกไก่

การแปรรูปของกระดูกไก่

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12092&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment