กระทกรก
ชื่ออื่นๆ : รก, กระโปรงทอง, ละพุบาบี, หญ้ารกช้าง (ใต้) ตำลึงฝรั่ง
ต้นกำเนิด : การแพร่กระจายขึ้นอยู่ตามที่รกร้างหรือขอบไร่ชายนา โดยเลื้อยพันกิ่งต้นไม้อื่น ๆ
ชื่อสามัญ : Fetid passionflower, Scarletfruit passionflower, Stinking passionflower
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Passiflora foetida
ชื่อวงศ์ : Passifloraceae
ลักษณะของกระทกรก
ต้น เป็นไม้เถาเลื้อยคล้ายตำลึง เถาค่อนข้างคดไปงอมา เถามีหนามเล็ก ๆ ขึ้นอยู่ห่าง ๆ โดยทั่วไป
ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปใบมนโค้งผิวเรียบปลายใบแหลมโดยแยกเป็นสามแฉก ใบและเส้นใบบริเวณที่ติดต่อกันมีสีแดงเรื่อ บริเวณใกล้โคนก้านใบมีแฉกแหลมเล็กเรียงตรงกันข้ามสลับกัน ก้านใบ มีขนาดก้านไม้ขีด ยาว 5 –6 เซนติเมตร มีขนอ่อนเป็นฝอยขนาดเล็ก
ดอก มีลักษณะก้านดอกยาวกว่าใบ ดอกบานออกกลมกว้าง กลีบดอกสีขาวแซมด้วยริ้วสีม่วง
ผล ผลค่อนข้างกลมขนาดปลายนิ้วมือ และห่อหุ้มด้วย “รก” ผลสุกมีสีเหลือง
การขยายพันธุ์ของกระทกรก
ใช้เมล็ด/ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่กระทกรกต้องการ
ประโยชน์ของกระทกรก
- ยอด ใช้เป็นผักสด มีรสขมเล็กน้อย หรือลวกจิ้มกับน้ำพริกและใช้แกงเลียง
- ผล ใช้กินเมล็ดและเยื่อหุ้มเมล็ด
สรรพคุณทางยาของกระทกรก
- เนื้อไม้ ใช้เป็นยาควบคุมธาตุ ถอนพิษเบื่อเมาทุกชนิดและใช้รักษาบาดแผล
- ราก ใช้ต้มน้ำดื่มแก้ไข แก้กามโรค
- ใบ ใช้ตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำดื่มเป็นยาเบื่อและขับพยาธิ
- ดอก ขับเสมหะ แก้ไอ
- ผล แก้ปวด บำรุงปอด
- ใบสด ใช้พอกแก้สิว ต้น ใช้ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ไอ และอาการบวม
คุณค่าทางโภชนาการของกระทกรก
การแปรรูปของกระทกรก
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10734&SystemType=BEDO
www.flickr.com