กระทือลิง ทั้งต้นต้มน้ำดื่มแก้ไข้

กระทือลิง

ชื่ออื่นๆ : กล้วยผี, กระชายผี, กระชายลิง (ภาคกลาง) ขมิ้นผี (สระบุรี)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Globba schomburgkii Hook. f.

ชื่อวงศ์ : Zingiberaceae

ลักษณะของกระทือลิง

ต้น  ไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดินขนาดเล็ก ลำต้นสูงประมาณ 60 เซนติเมตร

ใบ  ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน ใบที่โคนต้นรูปไข่ ขนาดเล็กกว่าใบใกล้ยอด ปลายใบแหลมยาว โคนใบรูปเรียวแคบ แผ่นใบมีขนสั้นนุ่มด้านล่าง ก้านใบสั้น

ดอก  ช่อดอกแบบช่อกระจะ แยกแขนงสั้นๆ ออกที่ยอด ห้อยโค้งลงเล็กน้อย ใบประดับช่วงโคนช่อติดทน รูปไข่ ปลายแหลม ไม่ติดดอกแต่มีหัวย่อย ทรงกลมสีขาว ใบประดับช่วงปลายช่อขนาดเล็ก รูปไข่ แต่ละช่อแขนงมี 4-5 ดอก เรียง 2 แถว ใบประดับย่อยขนาดเล็กกว่า รูปรี สีส้ม เปลี่ยนเป็นสีเขียวอ่อน ก้านดอกสั้นๆ ดอกสีส้ม กลีบเลี้ยง ปลายตัด แยกเป็น 3 แฉก ตื้นๆ หลอดกลีบดอกโค้ง กลีบดอกยาวเท่าๆ กัน เกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน ติดบนหลอดกลีบดอก รูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1.2 เซนติเมตร กลีบปากติดเหนือเกรเพศผู้ที่เป็นหมันประมาณ 1 เซนติเมตร รูปสามเหลี่ยมกางออกสองข้าง ปลายแหลม เกสรเพศผู้ 1 อัน ก้านเกสรโค้งลง ยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร หุ้มก้านเกสรเพศเมีย ปลายเกสรเพศผู้แผ่รูปดาวข้างละ 2 แฉก ก้านเกสรเพศเมียรูปเส้นด้าย ยอดเกสรรูปถ้วย ยื่นพ้นอับเรณูเล็กน้อย

ผล  ผลทรงกลม มี 3 พู ผิวขรุขระ ยาวประมาณ 0.6 เซนติเมตร ส่วนมากมักไม่ติดผล

กระทือลิง
กระทือลิง มีเหง้าใต้ดิน ใบเดี่ยว เรียงสลับ ปลายใบแหลมยาว
ดอกกระทือลิง
ดอกกระทือลิง กลีบดอกสีส้ม

การขยายพันธุ์ของกระทือลิง

การแตกหน่อ และการงอกของเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่กระทือลิงต้องการ

ประโยชน์ของกระทือลิง

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

สรรพคุณทางยาของกระทือลิง

ทั้งต้นต้มน้ำดื่มแก้ไข้

คุณค่าทางโภชนาการของกระทือลิง

การแปรรูปของกระทือลิง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10967&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment