กระท่อม พืชมีพิษ สารสำคัญที่พบคือ ไมทราไจนีน (Mitragynine) เป็นสารจำพวกอัลคาลอยด์ ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง

กระท่อม

ชื่ออื่นๆ :  อีถ่าง (ภาคกลาง) ท่อม (ภาคใต้)

ต้นกำเนิด : แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mitragyna speciosa

ชื่อวงศ์ : Rubiaceae

ลักษณะของกระท่อม

ต้น เป็นต้นไม้ขนาดกลาง สูงได้ถึง 20 เมตร

ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงกันข้าม รูปไข่กว้าง ยาว 12-18 ซม. กว้าง 5-10 ซม. ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบป้านกลม แผ่นใบบาง ด้านท้องใบมีเส้นใบเป็นสันขึ้นมาชัดเจนเมื่อแก่ เส้นแขนงใบข้างละ 8-14 เส้น ก้านใบยาว 2-3 ซม. มีหู ใบอยู่ระหว่างโคนก้านใบ จำนวน 1 คู่ ลักษณะคล้ายแผ่นใบ ยาว 3-4 ซม. กว้าง 1-2.5 ซม. ปลายแหลม

ดอก ดอกออกเป็นดอกช่อกระจุกกลมแตกจากปลายกิ่ง มี 1-3 ช่อ ก้านดอกช่อยาว 3-5 ซม. แต่ละช่อประกอบด้วยดอกสีเหลือง กลีบเลี้ยงรูปถ้วย ขนาดสั้น ส่วนปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกันที่โคนกลีบ ส่วนลายกลีบแยกเป็น 5 แฉก ยาวประมาณ 5 มม. มีขนปกคลุมภายในกลีบดอก เกสรเพศผู้มีจำนวน 5 อัน รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ

ผล ผลรูปไข่เกือบกลม ขนาดยาว 5-7 มม. มีสันตามความยาวจำนวน 10 สัน เมล็ดมีปีก

ส่วนที่เป็นพิษ :  ใบ

ต้นกระท่อม
ต้นกระท่อม ไม้ยืนต้น ใบเป็นใบเดี่ยว

การขยายพันธุ์ของกระท่อม

การเพาะเมล็ด, การปักชำ, การตัดต่อยอด

ประโยชน์ของกระท่อม

ในใบกระท่อมมีสารไมตราจัยนินที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท มีอาการเสพติดทางร่างกายเล็กน้อย มีอาการเสพติดทางจิตใจ
อาจมีอาการขาดยาทางร่างกายแต่ไม่รุนแรง

ดอกกระท่อม
ดอกกระท่อม ดอกสีเหลือง กลีบเลี้ยงรูปถ้วย

สรรพคุณทางยาของกระท่อม

ใบ แก้ปวดท้อง แก้บิด แก้ท้องเสีย แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย กดความรู้สึกเมื่อยล้าทำให้ทำงานได้นานขึ้น มีฤทธิ์หลอนประสาท

คุณค่าทางโภชนาการของกระท่อม

การแปรรูปของกระท่อม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11788&SystemType=BEDO
http:// www.rspg.or.th
https:// th.wikipedia.org
https://www.flickr.com

3 Comments

Add a Comment