กระท้อน ลูกท้อน ผิวผลมีขนแบบกำมะหยี่ เม็ดกระท้อนมีปุยเหมือนปุยฝ้าย
ชื่ออื่นๆ : ลูกท้อน, เตียน, มะติ๋น, ล่อน, สตียา, สะตู, สะโต, สะท้อน
ต้นกำเนิด : อินโดจีนและมาเลเซียตะวันตก
ชื่อสามัญ : Santol
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sandoricum koetjape Burm.f. Merr.
ชื่อวงศ์ : MELIACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ : Santol
ลักษณะของกระท้อน ลูกท้อน
กะท้อน เป็นไม้ยืนต้น เป็นไม้ผลเขตร้อนสูงประมาณ 15 – 30 เมตร เปลือกต้นสีเทามี ใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบเรียงสลับ
ใบ ใบย่อยรูปรีแกมไข่จนถึงขอบขนาน ขนาดประมาณ กว้าง 6 – 15 ซม. ยาว 8 – 20 ซม. เมื่อใบแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง
ดอก ดอกออกเป็นช่อ ที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกสีเหลืองนวล ออกดอกเดือนมกราคม-มีนาคม
ผล ผลอ่อนสีเขียวมีน้ำยางสีขาว เมื่อผลแก่เปลือกผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและมีน้ำยางลด น้อยลง รูปกลมแป้น ผิวมีขนแบบกำมะหยี่อ่อนนุ่ม ขนาดประมาณ 5.00 – 15.00 เชนติเมตร เมล็ดรูปรี มีปลอกเหนียวห่อหุ้ม มี 2 – 8 เมล็ด ภายในผลจะมีเมล็ด 3-5 เมล็ด และมีปุยสีขาวหุ้มอยู่ ซึ่งลักษณะ ของปุยและรสชาติจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละพันธุ์ พันธุ์ปุยฝ้าย (ปุยฝ้ายแท้) เป็นกระท้อนพันธุ์พื้นเมืองของ ต.ตะลุง เป็นที่นิยมบริโภคมากที่สุด ด้วยที่กระท้อนผลกระท้อนมีรสหวาน มีเปลือกที่นิ่ม และเม็ดกระท้อนมีปุย เหมือนปุยฝ้ายจึงเป็นกระท้อนที่จำหน่ายได้สูงสุด ลักษณะผลกระท้อนพันธุ์ปุยฝ้าย : ขนาดของผลมีตั้งแต่เล็กไปถึงใหญ่ สีเหลืองนวลสวย ผลกลมแป้น เม็ดกระท้อนจะมีปุยมากกว่าสายพันธุ์อื่น ปุยกระท้อนเมื่อทานไปแล้วจะเหมือนว่า ปุยกระท้อนละลายในปาก ชาวสวนกระท้อนนิยมเรียกว่าปุยฝ้ายแท้ พันธุ์อีล่า (ปุยฝ้ายเกษตร) เป็นกระท้อนพันธุ์พื้นเมือง จ.ปราจีนบุรี ซึ่งชาวบ้าน ต.ตะลุง ได้รับแจกสายพันธุ์มาจากกระทรวงเกษตร เล่ากันว่าชาวปราจีนบุรี เรียกกระท้อนพันธุ์นี้ว่าปุยฝ้ายเหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่รสชาติที่กระท้อนอีล่าเมื่อยังไม่แก่จัดจะมีรสอมเปรี้ยว และผลกระท้อนจะมีขนาดใหญ่มากบางผลน้ำหนักถึง 0.9 กิโลกรัม ลักษณะผลกระท้อนพันธุ์อีล่า : ขนาดของผลมีขนาดใหญ่ ผิวจะไม่เรียบ สีโทนเหลืองสด ผลคล้ายเป็นจุก รสอมเปรี้ยวเมื่อยังไม่แก่จัด หากผลแก่รสชาติจะหวานมีปุยเหมือนปุยฝ้ายกระท้อนพันธุ์อีล่า มักจะสุกช้ากว่ากระท้อนทุกพันธุ์ พันธุ์ทับทิม เป็นกระท้อนพันธุ์เมืองดั้งเดิม ของ ต.ตะลุง แต่ไม่มีคนรู้จักมากนัก เนื่องจากมีชาวสวนที่ปลูกกระท้อนพันธุ์ทับทิมไม่มาก แต่ด้วยรสชาติที่มีรสหวาน ทำให้เป็นที่ถูกใจคนที่เคยชิมกระท้อนพันธุ์ทับทิม ลักษณะผลกระท้อนพันธุ์ทับทิม : ลักษณะผลกลม มีขนาดไม่ใหญ่มาก สีเหลืองนวล ผิวกระท้อนเรียบเนียนสวย เปลือกนิ่ม ผลกลม พันธุ์นิ่มนวล เป็นกระท้อนที่มีลักษณะ เปลือกบาง เนื้อหนานิ่ม ไม่กระด้าง ปุยหุ้มเมล็ดหนาฟู รสหวานจัดเป็นสายพันธุ์ที่นิยมบริโภคกันมาก ลักษณะผลกระท้อนพันธุ์นิ่มนวล : ทรงผลกลมแป้น มีขั้วสั้น ผิวเปลือกเรียบมีสีเหลืองอมน้ำตาล เปลือกบาง ขนาดผล 300 – 600 กรัมต่อผล ผลกลม ให้ผลในเดือนมิถุนายน
การขยายพันธุ์ของกระท้อน ลูกท้อน
ใช้เมล็ด/การทาบกิ่งกระท้อน แบบยกตุ้มทาบเป็นวิธีการขยายพันธ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
การติดตากระท้อน เป็นวิธีการขยายพันธุ์กระท้อนอีกวิธีหนึ่ง ที่นิยมทำกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากทำได้ง่าย สะดวกในการปฏิบัติงานและไม่เปลืองกิ่งพันธุ์ดี
กระท้อน สามารถแบ่งออกเป็น 2 พันธุ์ คือ กระท้อนเปรี้ยวและกระท้อนหวาน (กระท้อนห่อ)
- กระท้อนเปรี้ยว เป็นกระท้อนพันธุ์พื้นเมืองที่มีขึ้นอยู่ทั่วไปมากมายในทุกภาคของประเทศไทย ลักษณะมีลำต้นสูงใหญ่เป็นทรงพุ่มหนาแน่น ผลมีรสฝาดและเปรี้ยว
- กระท้อนหวาน ได้แก่ กระท้อนห่อที่ชาวสวนนิยมปลูกกันอยู่ในปัจจุบัน มีอยู่มากมายหลายพันธุ์ ปัจจุบันพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมาก ได้แก่ พันธุ์ทับทิม พันธุ์อีล่า พันธุ์ปุยฝ้าย
พบขึ้นตามป่าดิบแล้งและชื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 100-700 เมตร
ธาตุอาหารหลักที่กระท้อน ลูกท้อน ต้องการ
–
ประโยชน์ของกระท้อน ลูกท้อน
- ผลใช้แปรรูป และรับประทานสด
- เปลือก ให้สีน้ำตาล ใช้ย้อมผ้า
- กระท้อน เป็นผลไม้มีสารแอนติออกซิแดนท์สูง ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเกิดมะเร็ง บำรุงโลหิต แก้ลมจุกเสียด เนื้อกระท้อนอุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน แคลเซียม เหล็ก ไนอะซิน วิตามินเอ วิตามินบี 1 และวิตามินซี ใบ ผสมน้ำต้มอาบขับเหงื่อ แก้ไข้ รักษาโรคผิวหนัง ราก ใช้เป็นยาดับพิษร้อนถอนพิษไข้ แก้ไข้มาลาเรีย แก้บิด แก้ท้องร่วง หรือตำกับน้ำและน้ำส้มสายชู ดื่มแก้ท้องเดิน และช่วยขับลม
สรรพคุณทางยาของกระท้อน ลูกท้อน
- ใบสด ใช้ขับเหงื่อ ต้มอาบแก้ไข้
- เปลือกต้น ต้มน้ำดื่มแก้ท้องเสีย รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน
- ผล ฝาดสมาน
- ราก เป็นยาขับลม แก้ท้องเสีย บิด เป็นยาธาตุ
คุณค่าทางโภชนาการของกระท้อน ลูกท้อน
- คุณค่าทางโภชนาการของกระท้อนต่อ 100 กรัม (สีเหลือง)
- โปรตีน 0.118 กรัมใบกระท้อน
- ไขมัน 0.1 กรัม
- ใยอาหาร 0.1 กรัม
- ธาตุแคลเซียม 4.3 มิลลิกรัม
- ธาตุฟอสฟอรัส 17.4 มิลลิกรัม
- ธาตุเหล็ก 0.42 มิลลิกรัม
- แคโรทีน 0.003 มิลลิกรัม
- วิตามินบี1 0.045 มิลลิกรัม
- วิตามินบี3 0.741 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 86.0 มิลลิกรัม
การแปรรูปของกระท้อน ลูกท้อน
กระท้อนสามารถที่จะแปรรูปได้หลากหลาย เช่น กระท้อนดอง กระท้อนทรงเครื่อง เป็นต้น
เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับกระท้อน
References : www.bedo.or.th, www.forest.go.th
รูปภาพจาก : www.pinterest.com, sapsiamfood.com
เรียบเรียงข้อมูลโดย : เกษตรตำบล.คอม
7 Comments