กระบก เมล็ดนำไปคั่วรับประทานได้ ต้นไม้ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด

กระบก

ชื่ออื่นๆ : กระบก, กะบก, จะบก, ตระบก (เหนือ) จาเมาะ (เขมร) ชะอัง (ซอง ตราด) บก, หมากบก (ตะวันออกเฉียงเหนือ) มะมื่น, มื่น (เหนือ) หลักกาย (ส่วย สุรินทร์)

ต้นกำเนิด : พบตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ว สูงจากระดับน้ำทะเล 150-300 เมตร

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Irvingia malayana Oliv. ex Benn.

ชื่อวงศ์ : IRVINGIACEAE

ลักษณะของกระบก

ต้น เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง 10 – 30 เมตร ผลัดใบ ช่วงสั้นๆ ลำต้นเปลาตรง เปลือกต้นมีสีเทาอ่อนปนสีน้ำตาลค่อนข้างเรียบ เรือนยอดแน่นทึบ ทุกปลายยอดมีหูใบหุ้มเป็นฝักดาบเรียวโค้ง

ใบ ใบเดี่ยวรูปรีแกมหอก กว้าง 2.5 – 9 ซม. ยาว 8 – 20 ซม. เนื้อใบหนา ผิวเกลี้ยง โคนใบมน ปลายใบแหลมทู่ ขอบใบเรียบ

ดอก ดอกสีขาวอมเขียวขนาดเล็ก กลีบดอก 5 กลีบยาวเป็ย 3 เม่าของกลีบรองดอก ปลายกลีบดอกจะม้วนออก เกสรตัวผู้มี 10 อัน ผลป้อมรี ออกดอกเดือนมกราคม-มีนาคม

เมล็ด เมล็ดเดี่ยว เปลือกแข็ง ภายในมีเนื้อแป้งสีขาวอัดแน่น

ต้นกระบก
ต้นกระบก ลำต้นเปลาตรง เปลือกต้นมีสีเทาอ่อน
ใบกระบก
ใบกระบก เนื้อใบหนา ผิวเกลี้ยง

การขยายพันธุ์ของกระบก

ใช้เมล็ด

การขยายพันธุ์และการผลิตกล้า
โดยวิธีการเพาะเมล็ด เนื่องจากเปลือกหุ้มเมล็ดแข็งมาก ก่อนเพราะอาจช่วยการงอกด้วยการตัดหัวท้ายของเมล็ดหรือขลิบตามร่อยแยกของเมล็ด
ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูก
ดิน ในสภาพธรรมชาติขึ้นได้ดีบนดินร่วน ดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำดี และมีสภาพเป็นกรด
ความชื้น ชอบความชื้นปานกลาง – มาก
แสง ชอบแสง

การปลูกดูแลบำรุงรักษา
การคัดเลือกพื้นที่และเตรียมพื้นที่ปลูก พื้นที่ปลูกไม่ควรเป็นที่ลุ่มมีน้ำขัง ดินเป็นดินร่วน-ดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี ปริมาณน้ำฝนประมาณ 1,000 มม. ขึ้นไป การเตรียมพื้นที่จัดเตรียมค่อนข้างละเอียดและมีการไถพรวน
วิธีการปลูกและระยะปลูกที่เหมาะสม กล้าที่ใช้ปลูกควรเป็นกล้าค้างปี ขนาดของหลุมที่ขุดปลูก 30x30x30–50x50x50 ซม. ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์รองก้นหลุมส่วนระยะปลูกที่เหมาะสม 4×4, 4×6, 4×8, 6×6, และ 8×8 เมตร ในช่วงระยะปลูกแรกๆ ใช้พืชเกษตรปลูกควบตามระบบวนเกษตร เมื่อต้นไม้เจริญเติบโตมีการแก่งแย่ง ควรมีการตัดสางขยายระยะจนเหลือระยะปลูก 8×8 หรือ 12×12 หรือ 16×16 ม.

ธาตุอาหารหลักที่กระบกต้องการ

ประโยชน์ของกระบก

  • ต้นไม้ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลจังหวัด โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537
  • ใบอ่อน ใช้เป็นผักรับประทานกับลาบ
  • เนื้อไม้ ใช้ทำเครื่องมือกสิกรรม เมื่ออาบน้ำยาโดยถูกต้องแล้วใช้ในการก่อสร้างที่ต้องการความแข็งแรงได้
  • เมล็ดมีเอนโดสเปริร์ม นำไปคั่ว รับประทานได้ เนื้อไม้สีเทาปนน้ำตาล แข็งแต่เปราะถ่านจากเนื้อไม้กระบกจะให้ความร้อนสูง เนื้อในเมล็ดรับประทานได้ มีรสหวานมัน น้ำมันจากเมล็ดใช้ทำสบู่และเทียนไขได้
  • เปลือก ใบ ผล ให้สีต่างๆ ใช้ย้อมผ้า
เมล็ดกระบก
เมล็ดรูปรีแกมรูปไข่ ค่อนข้างแบน เนื้อในสีขาว

สรรพคุณทางยาของกระบก

  • เนื้อไม้ ช่วยเจริญอาหาร ขับพยาธิในเด็ก
  • ใบ แก้คันผิวหนัง เมล็ด บารุงไขข้อในกระดูก แก้เส้นเอ็นพิการให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย บารุงไต แก้ข้อขัอ
  • เมล็ด เนื้อในเมล็ดแก่ รับประทานได้ รสมันร้อน บำรุงเส้นเอ็น บำรุงไขข้อ แก้ข้อขัด บำรุงไต ฆ่าพยาธิ ในท้อง 

คุณค่าทางโภชนาการของกระบก

การแปรรูปของกระบก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9431&SystemType=BEDO
www.forprod.forest.go.th
www.flickr.com

One Comment

Add a Comment