กระบองเพชร ไม้อวบน้ำ ทนต่อทุกสภาพแวดล้อม

กระบองเพชร

ชื่ออื่นๆ : กระบองเพชร,  แคคตัส, โบตั๋น, ท้าวพันตา

ต้นกำเนิด : อเมริกาเขตร้อน

ชื่อสามัญ : Cactus

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cereus hexagonus L. Mill.

ชื่อวงศ์ : CACTACEAE

ลักษณะของกระบองเพชร

ไม้อวบน้ำทนแล้งเกือบทั้งหมดที่เป็นพืช ที่ปรับเปลี่ยนลำต้นให้อวบน้ำและเปลี่ยนใบเป็นหนาม สามารถเจริญเติบโตได้ในแนบไม้ต้น ไม้เลื้อยหรือพืชอิงอาศัย ลำต้นมีความสูงประมาณ 3 เมตร ดอกเด่นสะดุดตา มีกลีบจำนวนมาก เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ รู้จักกันดีในชื่อ แคคตัสหรือกระบองเพชร

กระบองเพชร
กระบองเพชร มีลำต้นอวบ เปลี่ยนใบเป็นหนาม

การขยายพันธุ์ของกระบองเพชร

ใช้ส่วนอื่นๆ/แยกหน่อ/เพาะเมล็ด

การปลูกแบ่งเป็น 2 วิธี

  1. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายในอาคารและภายนอกอาคาร ใช้กระถางทรงและขนาดต่างกันแล้วแต่ชนิดพันธุ์ คือตั้งแต่ขนาด 4-10 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก:ทรายหรือดินร่วน อัตรา 1:1 ผสมดินปลูก การเปลี่ยนกระถางแล้วแต่ความเหมาะสมของชนิดพันธุ์และผู้ปลูก แต่ถ้าจะให้เจริญสวยงามต้องควบคุมเรื่องปุ๋ย และน้ำให้ถูกวิธี
  2. การปลูกในแปลงปลูกเป็นแนวรั้วบ้าน แต่จะต้องเป็นชนิดพันธุ์ ที่ค่อนข้างใหญ่ แข็งแรง ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1:3 ผสมดินปลูก

กระบองเพชรมีมากกว่า 127 สกุล และกว่า 2,047 สปีชีส์

ธาตุอาหารหลักที่กระบองเพชรต้องการ

ประโยชน์ของกระบองเพชร

ปลูกประดับบ้าน  คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นกระบองเพชรไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดโชคลาภ เพราะถ้าผู้ใดปลูกต้นกระบองเพชรให้ เกิดดอกได้มากและสวยงามแสดงว่าผู้นั้นจะมีโชคลาภ ดังนั้นคนไทยโบราณถือว่าเป็นไม้เสี่ยงทายยังเชื่ออีกว่ายังสามารถป้องกันศัตรูจากภายนอกได้อีกด้วย เพราะต้นกระบองเพชรมีหนามและความคงทนแข็งแรง ดังนั้นคนไทยโบราณจึงนิยมปลูกตามแนวรั้วบ้าน เพื่อให้เป็นที่กลัวเกรงของศัตรูภายนอกตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นกระบองเพชรไว้ทางทิศตะวันตก ผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์

สรรพคุณทางยาของกระบองเพชร

  • กระบองเพชร สามารถใช้บรรเทาโรคบิดได้
  • สารสกัดกระบองเพชรช่วยลดอาการเมาค้าง

คุณค่าทางโภชนาการของกระบองเพชร

การแปรรูปของกระบองเพชร

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10666&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment