กระบาก ลักษณะของต้นกระบาก ต้นไม้ประจำจังหวัดยโสธร

กระบาก

ชื่ออื่นๆ : กระบาก, ตะบาก (ลำปาง) กระบากขาว (ชลบุรี, ชุมพร, ระนอง) กระบากโคก (ตรัง) กระบากช่อ, กระบากด้าง, กระบากดำ (ชุมพร) กระบากแดง (ชุมพร, ระนอง) ชอวาตาผ่อ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) บาก (ชุมพร) ประดิก (เขมร-สุรินทร์) พนอง (จันทบุรี, ตราด) หมีดังว่า (กะเหรี่ยง-ลำปาง)

ต้นกำเนิด : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

ชื่อสามัญ : กระบาก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anisoptera costata Korth.

ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE

ลักษณะของกระบาก

ต้น ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 20 – 30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมลำต้นเปลาตรง โคนต้นมักเป็นพูพอน เปลือก สีน้ำตาลเทา แตกเป็นร่องตามความยาวของลำต้น เปลือกในสีเหลืองอ่อนเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ

ต้นกระบาก
ต้นกระบาก ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีน้ำตาลเทา แตกเป็นร่อง

ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับแผ่นใบรูป ขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ ท้องใบมีขนสีน้ำตาลปนเหลือง กว้าง 3 – 8 เซนติเมตร ยาว 6 – 16 เซนติเมตร ปลายใบทู่มนกว้างหรือหยักเป็นติ่งสั้น ๆ โคนใบมน

ใบกระบาก
ใบกระบาก ใบเดี่ยว รูปไข่กลับ

ดอก ดอกเล็กสีขาวปนเหลืองอ่อนออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบและ ปลายกิ่ง

ผล ผลกลมผิวเรียบ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร มีปีกยาว 2 ปีก รูปไข่กลับ และปีกสั้น 3 ปีก

ผลกระบาก
ผลกระบาก ผลกลมผิวเรียบ สีเขียว

ประโยชน์ของกระบาก

  • ต้นไม้ประจำจังหวัดยโสธร เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลจังหวัด โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537
  • ไม้ใช้ทำแบบเทคอนกรีต พื้น แจว พาย กรรเชียง สันแปรง ลังใส่ของ โลงศพ ไม้บาง และไม้อัด ชันใช้ผสมน้ำมันทาไม้ น้ำมันชักเงาอย่างดี ใช้ยาแนวเรือ ฯลฯ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10815&SystemType=BEDO
https:// www.gotoknow.org
https://www.youtube.com

Add a Comment