กระเจียวขาว กระชายดง กระเจียวป่า ไม้ดอกไม้ประดับในกระถาง
ชื่ออื่นๆ : กระเจียวขาวปากเหลือง, กระเจียวป่า, กระเจียวบัว, มหาอุดม
ต้นกำเนิด : –
ชื่อสามัญ : กระเจียวขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma parviflora Wall.,
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE
ลักษณะของกระเจียวขาว, กระชายดง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 30-40 ซม. มีเหง้ากลม ขนาด 1.5-2 ซม. ใบเดี่ยว ต้นหนึ่งมี 4 ใบ ออกจากเหง้าชูขึ้นมาเหนือพื้นดิน 2 ใบพร้อมกันก่อน ใบที่ 3 และ 4 ออกพร้อมช่อดอก ใบรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 7 ซม. ยาวประมาณ 20 ซม. ปลายแหลม โคนมน ก้านใบยาวประมาณ 10 ซม. ช่อดอกกว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 8-10 ซม. ใบประดับเรียงซ้อนกัน โคนติดกันเป็นกรวย ใบประดับตอนโคนช่อสีเขียว มีดอกตามซอก ตอนปลายช่อสีขาว ยาวกว่าเล็กน้อย ไม่มีดอก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 15 ซม. ดอกเล็ก สีขาว เป็นหลอดยาวประมาณ 2 ซม. ปลายกลีบปากจัก สีม่วง และมีเส้นสีม่วงพาดตามยาวอยู่ด้านใน
การกระจายพันธุ์ : พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และมาเลเซีย
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค
สภาพนิเวศน์ : ขึ้นตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง
เวลาออกดอก : เดือนกุมภาพันธ์-กรกฎาคม
การขยายพันธุ์ของกระเจียวขาว, กระชายดง
- ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด
ประโยชน์ของกระเจียวขาว, กระชายดง
- ดอกสวยงาม นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับฝนกระถาง
สรรพคุณทางยาของกระเจียวขาว, กระชายดง
- ใช้ ช่อดอกอ่อน รับประทานเป็นผัก เหง้า ขับลม รักษาลำไส้
References : www.bedo.or.th
ภาพประกอบ : www.qsbg.org
เรียบเรียงข้อมูลโดย : เกษตรตำบล.คอม
One Comment