กาเสดโคก ยอดอ่อนกินเป็นผักสด หรือนำไปปรุงเป็นอาหารได้

กาเสดโคก

ชื่ออื่นๆ : กาเสดโคก (อุดรธานี), แห้วระบาด (ประจวบคีรีขันธ์, ปราจีนบุรี)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : แห้วระบาด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Neptunia javanica Miq.

ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE

ลักษณะของกาเสดโคก

ต้น  ไม้ล้มลุกอายุหลายปี ทอดเลื้อย ยาวได้ถึง 1 ม. หูใบรูปหัวใจ ยาว 2-3 มม.

ใบ  ใบประกอบมี 1-3 ใบประกอบย่อย แกนกลางใบยาว 1-3 ซม. ต่อมเห็นไม่ชัดเจน ก้านใบประกอบยาว 0.5-1.5 ซม. ใบย่อยมี 7-20 คู่ รูปขอบขนาน เบี้ยว ยาว 0.2-0.8 ซม. ปลายใบมนหรือแหลม มีติ่งที่ปลาย โคนใบตัด เส้นใบไม่ชัดเจน ก้านช่อดอกยาว 3-7 ซม. มี 13-15

ดอก ในแต่ละช่อ ส่วนไม่สามารถสืบพันธุ์ได้ กลีบเลี้ยงยาว 0.8-1.3 มม. กลีบดอกรูปรีหรือรูปใบหอก ดอกแบบช่อกระจุกกลม สีเหลือง ออกตามง่ามใบ ยาว 1.8-2.3 มม. เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันรูปเส้นด้ายแกมรูปแถบ ยาว 0.5-0.8 ซม. ดอกสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงยาว 1.8-2.5 มม. กลีบดอกรูปรีหรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายแหลม ยาว 3-4 มม. เกสรเพศผู้ยาว 4-5.5 มม. รังไข่ยาวได้ประมาณ 2-2.5 มม. เกลี้ยง ไร้ก้าน

ผล  ผลเป็นฝัก แบน โค้ง ยาว 3-5 ซม. เมล็ด 7-11 เมล็ด รูปรี ยาว 3-4 มม.

กาเสดโคก
กาเสดโคก ลำต้นทอดเลื้อย ก้านใบยาว

การขยายพันธุ์ของกาเสดโคก

ใช้เมล็ด/นำเมล็ดมาเพาะลงในถุงดำเมื่อผักงอกออกแล้วนำไปปลูก

ธาตุอาหารหลักที่กาเสดโคกต้องการ

ประโยชน์ของกาเสดโคก

ยอดอ่อนกินเป็นผักสด หรือนำไปปรุงเป็นอาหารได้เหมือนผักกระเฉด เช่น กินสดหรือต้มลวกจิ้มน้ำพริกชนิดต่างๆ แกงส้มกุ้ง แกงส้มปลาทะเลหรือปลาน้ำจืด แต่ไม่นิยมรับประทานกัน

ดอกกาเสดโคก
ดอกกาเสดโคก ดอกช่อกระจุกกลม สีเหลือง

สรรพคุณทางยาของกาเสดโคก

มีวิตามิน A ช่วยลดน้ำตาลในเลือด บำรุงตับ ถ่ายพยาธิโรคความดัน โลหิตสูง ลดน้ำตาลในเลือด ขับระดู ขับลม บำรุงตับ ฝักใช้ห้ามเลือด เป็นยาอายุวัฒนะ

คุณค่าทางโภชนาการของกาเสดโคก

การแปรรูปของกาเสดโคก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11713&SystemType=BEDO
https://eol.org
http://science.sut.ac.th

Add a Comment