กระเทียม หอมเทียม พืชสมุนไพรไทยและเครื่องเทศมากประโยชน์สรรพคุณ

กระเทียม หอมเทียม พืชสมุนไพรไทยและเครื่องเทศมากประโยชน์สรรพคุณ

ชื่ออื่นๆ :  กระเทียมขาว (อุดรธานี) กระเทียมจีน (กทม.,กลาง) เทียม (ใต้) ปะเซ้วา (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หอมขาว (อุดรธานี) หอมเทียม (เหนือ) หัวเทียม (ใต้)

ต้นกำเนิด : ตะวันตกเฉียงใต้ของไซบีเรีย

ชื่อสามัญ : กระเทียม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allium sativum Linn.

ชื่อวงศ์ : ALLIACEAE

ชื่อภาษาอังกฤษ : Garlic

กระเทียม หอมเทียม พืชสมุนไพรไทยและเครื่องเทศมากประโยชน์สรรพคุณ
กระเทียม

ลักษณะของกระเทียม, หอมเทียม

กระเทียมเป็นไม้ล้มลุกและใหญ่ยาว สูง 30-60 ซม. มีกลิ่นแรง มีหัวใต้ดิน ลักษณะกลมแป้น เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-4 ซม. มีแผ่นเยื่อสีขาวหรือสีม่วงอมชมพูหุ้มอยู่ 3-4 ชั้น ซึ่งลอกออกได้ แต่ละหัวมี 6-10 กลีบ กลีบเกิดจากตาซอกใบของใบอ่อน ลำต้นลดรูปลงไปมาก ใบเดี่ยว (Simple leaf) ขึ้นมาจากดิน เรียงซ้อนสลับ แบนเป็นแถบแคบ กว้าง 0.5-2.5 ซม. ยาว 30-60 ซม. ปลายแหลมแบบ Acute ขอบเรียบและพับทบเป็นสันตลอดความยาวของใบ โคนแผ่เป็นแผ่นและเชื่อมติดกันเป็นวงหุ้มรอบใบที่อ่อนกว่าและก้านช่อดอกทำให้เกิดเป็นลำต้นเทียม ปลายใบสีเขียวและสีจะค่อยๆ จางลงจนกระทั่งถึงโคนใบ ส่วนที่หุ้มหัวอยู่มีสีขาวหรือขาวอมเขียว ช่อดอกแบบช่อซี่ร่ม (Umbel) ประกอบด้วยตะเกียงรูปไข่เล็กๆ จำนวนมากอยู่ปะปนกับดอกขนาดเล็กซึ่งมีจำนวนน้อย มีใบประดับใหญ่ 1 ใบ ยาว 7.5-10 ซม. ลักษณะบาง ใส แห้ง เป็นจะงอยแหลมหุ้มช่อดอกขณะที่ยังตูมอยู่ แต่เมื่อช่อดอกบานใบประดับจะเปิดอ้าออกและห้อยลงรองรับช่อดอกไว้ ก้านช่อดอกเป็นก้านโดด เรียบ รูปทรงกระบอกตัน ยาว 40-60 ซม. ดอกสมบูรณ์เพศ กลีบรวม 6 กลีบ แยกจากกันหรือติดกันที่โคน รูปใบหอกปลายแหลม ยาวประมาณ 4 มม. สีขาวหรือขาวอมชมพู เกสรเพศผู้ 6 อัน ติดที่โคนกลีบรวม อับเรณูและก้านเกสรเพศเมียยื่นขึ้นมาสูงกว่าส่วนอื่นๆ ของดอก รังไข่ 3 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 1-2 เม็ด ผลเล็กเป็นกระเปาะสั้นๆ รูปไข่หรือค่อนข้างกลม มี 3 พู เมล็ดเล็ก สีดำ

การขยายพันธุ์ของกระเทียม, หอมเทียม

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/ใช้หัวปลูก ชอบอากาศเย็น และดินร่วนซุย

ธาตุอาหารหลักที่กระเทียม, หอมเทียมต้องการ

ประโยชน์ของกระเทียม, หอมเทียม

กระเทียม เป็นส่วนประกอบอาหาร,เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้กลากเกลื้อน แก้ไอ ขับเสมหะช่วยย่อยอาหาร อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และแน่นจุกเสียด

ใช้ประโยชน์ส่วนหัว ใช้กลีบที่แกะเปลือกแล้ว รับประทาน ดิบ ๆ ครั้งละประมาณ 5-7 กลีบ (หนัก 5 กรัม) หลังอาหาร หรือเวลามีอาการโรคกลากเกลื้อน ฝานกลีบ กระเทียมแล้วนำมาถูบ่อย ๆ หรือตำคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็นโดยใช้ไม้
เล็ก ๆ ขูดบริเวณที่เป็นพอให้ผิวแดง ๆ ก่อน จึงเอานำกระเทียมขยี้ทาบ่อย ๆ หรือทาวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น

สรรพคุณทางยาของกระเทียม, หอมเทียม

กระเทียม ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ สารเคมีในหัวกระเทียม คือ น้ำมันหอมระเหยโดยทั่วไปกระเทียมจะมีน้ำมันหอม ระเหย ประมาณ 0.6-1% ในน้ำมันหอมระเหยนี้ มีสารเคมีที่มีกำมะถันเป็นองค์ ประกอบหลายชนิดตัวที่สำคัญคือ อัลลิซิน ซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโต ของเชื้อ แบคทีเรียและเชื้อราหลายชนิด ในวงการวิทยาศาสตร ์ ได้มีการค้นคว้า สรรพคุณ ทางเภสัชวิทยาของกระเทียมอย่างมากมาย ทั้งใน และนอกประเทศ การวิจัยเกี่ยวกับสรรพคุณของกระเทียม พบว่า หัวกระเทียมสามารถลดปริมาณ ไขมันในเลือดได้ทั้งในคนปกติ และในคนไข้ที่มีโคเลสเตอรอลสูง หัวกระเทียม ประกอบด้วย น้ำมันหอมระเหย ทำให้มีฤทธิ์ในการระงับอาการ ปวดท้อง ขับลม ลดอาการจุกเสียด และคลื่นไส้หลังอาหารได้
ในการทดลอง ผลิตยาจากกระเทียมขององค์การเภสัชกรรม ได้ทดลองสกัด โดยกรรมวิธีและรูปแบบต่าง ๆ กัน จนได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าหรือส่วนประกอบ ทางเคมีใกล้เคียง กับกระเทียมสดมากที่สุดและได้ส่งตัวอย่างที่ทดลองผลิตขึ้น ได้นี้ ไปทดสอบทางคลินิคเพื่อยืนยันสรรพคุณโดยศาสตราจารย์นายแพทย์วิชัย ตันไพจิตร และคณะ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาล รามาธิบดี ทดสอบคุณสมบัติในการลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด และรอง ศาสตราจารย์แพทย์หญิงเผือดศรี วัฒนานุกูล และคณะ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทดสอบคุณสมบัติในการละลาย ลิ่มเลือด ผลปรากฏว่า ผลิตภัณฑ์กระเทียมสกัดขององค์การเภสัชกรรม มีฤทธิ์ในการละลายลิ่มเลือด และลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดได้
นอกจากนี้ การทดลองทางพิษวิทยา โดยรองศาสตราจารย์แพทย์หญิง นันทพร นิลวิเศษ และคณะ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ไม่พบอาการเป็นพิษ แต่อย่างใด

คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม, หอมเทียม

  • ในกระเทียม 100 กรัม ให้พลังงาน 149 กิโลแคลอรี (kcal) และให้คุณค่าทางอาหารดังนี้
  • น้ำ 58.6 กรัม
  • ฟอสฟอรัส 153 มิลลิกรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 33.1 กรัม
  • โพแทสเซียม 401 มิลลิกรัม
  • โปรตีน 6.4 กรัม
  • ซีลีเนียม 14.2 ไมโครกรัม
  • ไขมัน 0.5 กรัม
  • วิตามินซี 31.2 มิลลิกรัม
  • แคลเซียม 181 มิลลิกรัม
  • โฟเลท 3.1 ไมโครกรัม
  • แมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม
  • ใยอาหาร 2.1 กรัม

การแปรรูปของกระเทียม, หอมเทียม

กระเทียมสามารถแปรรูปเป็น กระเทียมผง กระเทียมดอง เพื่อให้สามารถเก็บไว้ได้นาน

เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับกระเทียม

References : www.bedo.or.th

รูปภาพจาก : th.wikipedia.org

เรียบเรียงข้อมูลโดย :  เกษตรตำบล.คอม

Add a Comment