กระแตไต่ไม้ เป็นเฟิร์นอิงอาศัย นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

กระแตไต่ไม้

ชื่ออื่นๆ : ฮำฮอก (อุบลราชธานี) ใบหูช้าง, สไบนาง (กาญจนบุรี) กูดขาฮอก, กูดอ้อม, กูดไม้ (เหนือ) กระปรอกว่าว (ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี) หัวว่าว (ประจวบคีรีขันธ์) หว่าว (ปน) สะโมง, กาบหูช้าง, หัวว่าว

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : กระแตไต่ไม้

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Drynaria quercifolia (L.) J. Sm.

ชื่อวงศ์ : POLYPODIACEAE

ลักษณะของกระแตไต่ไม้

ต้น ไม้ล้มลุกจำพวกเฟิร์น เลื้อยเกาะ บนต้นไม้หรือก้อนหิน เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-4 ซม. ยาวได้ถึง 1 ม. หรือมากกว่า มีเกล็ดสีน้ำตาลเข้ม เกล็ดแคบ กว้างประมาณ 1 มม. ยาวประมาณ 1.8 ซม. ปลายเรียวยาว รากสั้นๆ มีรากขนอ่อนสีน้ำตาล

ใบ  ใบเดี่ยว มีรูปร่างและหน้าที่ต่างกัน 2 แบบ ใบไม่สร้างอับสปอร์เป็นรูปไข่ กว้าง 10-25 ซม. ยาว 15-35 ซม. ปลายแหลม โคนมน ขอบหยักเว้ามนตื้นๆ เข้าหาเส้นกลางใบทั้ง 2 ด้าน ปลายมน ไม่มีก้านใบ ใบชนิดนี้จะมีสีเขียวอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแห้งแต่ยังคงติดอยู่กับต้น ดังนั้นจะเห็นซ้อนกันหลายใบ เป็นที่สะสมของใบไม้แห้งที่ตกลงมา ซึ่งจะกลายเป็นปุ๋ยให้ต้น ใบสร้างอับสปอร์กว้าง 20-35 ซม. ยาว 0.6-1 ม. รูปคล้ายใบประกอบแบบขนนก ขอบหยักเว้าลึกเข้าหาเส้นกลางใบทั้ง 2 ด้าน แต่ละหยักลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ ใบชนิดนี้มีสีเขียวตลอดอายุ เมื่อใบแก่แผ่นใบจะร่วงไป คงเหลือส่วนก้านใบและเส้นกลางใบติดอยู่กับต้น เส้นใบเป็นร่างแห กลุ่มอับสปอร์รูปกลมหรือรูปไข่ เรียงตัวค่อนข้างมีระเบียบ 2 ข้างของเส้นใบที่แบ่งกลางแต่ละแฉก

กระแตไต่ไม้
กระแตไต่ไม้ เป็นเฟิร์นเลื้อยเกาะบนไม้ ลำต้นทอดนอนยาว

การขยายพันธุ์ของกระแตไต่ไม้

สภาพนิเวศน์ : เกาะอยู่ตามต้นไม้ใหญ่หรือบนก้อนหินบริเวณกลางแจ้งในป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ป่าชายเลน บนพื้นที่ระดับต่ำถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 ม.

ธาตุอาหารหลักที่กระแตไต่ไม้ต้องการ

ประโยชน์ของกระแตไต่ไม้

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

สรรพคุณทางยาของกระแตไต่ไม้

ส่วนหัวต้มน้ำรับประทาน
– เป็นยาขับปัสสาวะ นิ่ว ปัสสาวะกระปริบกระปรอย ปัสสาวะพิการ
– ขับระดูขาว
– แก้เบาหวาน
– แก้ไตพิการ
– เป็นยาคุมธาตุ
– เป็นยาเบื่อพยาธิ
– ใบใช้ตำพอกแก้แผลพุพอง แผลเรื้อรัง

คุณค่าทางโภชนาการของกระแตไต่ไม้

การแปรรูปของกระแตไต่ไม้

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10230&SystemType=BEDO
www.flickr.com

One Comment

Add a Comment