กฤษณา
ชื่ออื่นๆ : ไม้หอม, พวมพร้าว, จะแน, กายูกาฮู, กายูการู, การยูดึงปู
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : กฤษณา ไม้หอม, Eagle wood
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aquilaria crassna Pierre. ex Lecomte.
ชื่อวงศ์ : THYMELAEACEAE
ลักษณะของกฤษณา
ต้น ไม้ต้นขนาดใหญ่ ลำต้นเปลาตรง สูง 25-40 เมตร เปลือกเรียบสีเทา ตามยอดมีขนเป็นมันคล้ายเส้นไหมสีขาว
ใบ ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับ รูปรีหรือรูปไข่ ปลายเรียวแหลม โคนใบสอบมน ขอบใบเป็นคลื่น ผิวใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน ด้านล่างสีจางกว่า
ดอก ออกเป็นช่อสั้นๆ ที่ปลายยอดและง่ามใบ รูประฆัง สีเขียวอ่อน ออกดอกเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์
ผล ค่อนข้างหลม มีขนอ่อนนุ่มปกคลุม
การขยายพันธุ์ของกฤษณา
ใช้เมล็ด
การกระจายพันธุ์ ภาคหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของไทย ต่างประเทศพบที่ ลาว กัมพูชา และเวียตนาม ขึ้นในป่าดิบแล้ง ตามเชิงเขาและไหล่เขาที่ไม่ลาดชันมากนัก ที่ระดับความสูง 150-800 เมตร
สถานภาพ : พืชหายาก
ธาตุอาหารหลักที่กฤษณาต้องการ
ประโยชน์ของกฤษณา
เปลือก ให้เส้นใบในการทำเชือก ถุงย่ามและกระดาษ
สรรพคุณทางยาของกฤษณา
- แก่นไม้ บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ บำรุงตับและปอดให้ปกติ
- เนื้อไม้ บำรุงโลหิตในหัวใจ บำรุงตับและปอดให้เป็นปกติ แก้ลม แก้ลมซาง แก้ลมอ่อนเพลีย ทำให้ชุ่มชื่นใจ บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ไข้ บำรุงโลหิต รักษาโรคปวดข้อ
- น้ำมันจากเมล็ด รักษาโรคผิวหนัง แก้โรคเรื้อน แก้มะเร็ง
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ลดความดันโลหิต
คุณค่าทางโภชนาการของกฤษณา
การแปรรูปของกฤษณา
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11374&SystemType=BEDO
www.forest.go.th, www.teaoilcenter.org, www.flickr.com