กลึงกล่อม ปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงา ผลสุกรับประทานได้

กลึงกล่อม

ชื่ออื่นๆ : ระทุ่มกลอง, กระทุ่มคลอง, กลึงกล่อม, ชั่งกลอง, ท้องคลอง (ราชบุรี) กำจาย (นครสวรรค์, ประจวบคีรีขันธ์) ไคร้น้ำ (อุตรดิตถ์) จิงกล่อม (ภาคใต้) ช่องคลอง (กาญจนบุรี) น้ำนอง (ปัตตานี, ภาคใต้) น้ำน้อย (เลย) ผักจ้ำ, มะจ้ำ (ภาคเหนือ) มงจาม (อ่างทอง)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Polyalthia suberosa (Roxb.) Thwaites

ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE

ลักษณะของกลึงกล่อม

ไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น ขนาดเล็ก สูง 2-5 ม. แตกกิ่งต่ำ

ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน แผ่นใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน หรืออาจมีขนสั้นๆ เหลืออยู่ตามเส้นกลางใบ

ดอก ออกเดี่ยวๆ ตามด้านข้างของกิ่ง ตรงข้ามหรือเยื้องกับใบ หรือออกเหนือง่ามใบเล็กน้อย ก้านดอกเรียว กลีบเลี้ยง 3 กลีบ รูปไข่ ด้านนอกมีขน กลีบดอกสีเหลืองอมน้ำตาล เรียงสลับกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ ขนาดใหญ่กว่ากลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้เล็ก มีจำนวนมาก อยู่ชิดกันแน่นเป็นพุ่มกลม ออกดอกเกือบตลอดปี

ผล  เป็นผลกลุ่มมีจำนวนมาก อยู่บนแกนตุ้มกลม แต่ละผลกลม ผิวเรียบ สีเขียว เมื่อสุกสีแดงถึงสีม่วงดำ มี 1-2 เมล็ด

ต้นกลึงกล่อม
ต้นกลึงกล่อม ไม้พุ่มขนาดเล็ก แผ่นใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน
ดอกกลึงกล่อม
ดอกกลึงกล่อม กลีบดอกสีเหลืองอมน้ำตาล

การขยายพันธุ์ของกลึงกล่อม

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่กลึงกล่อมต้องการ

ประโยชน์ของกลึงกล่อม

  • ปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงา
  • ผลสุกรับประทานได้
  • ยอดอ่อน ผลอ่อน ใช้รับประทานเป็นผักสด หรือนำไปต้มรับประทานร่วมกับน้ำพริก
  • ทางอาหารสำหรับชาวล้านนานั้นจะนิยมนำผักกลึงกล่อมมาเป็นส่วนผสมของอาหารประเภทส้า เช่น ส้าผัก ส้าผักรวม หรือใช้เป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริกหรือลาบ
ผลกลึงกล่อม
ผลกลึงกล่อม ผลกลม เมื่อสุกสีแดงถึงสีม่วงดำ

สรรพคุณทางยาของกลึงกล่อม

รากและเนื้อไม้ รสขมสุขุม ต้มดื่มแก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้น้ำเหลืองเสีย ขับพิษภายใน

คุณค่าทางโภชนาการของกลึงกล่อม

การแปรรูปของกลึงกล่อม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11810&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment