กล้วยกุ้งเขียว ผลมีสีเหลืองรสหวาน กลิ่นหอมฉุน เปลือกบางคล้ายกล้วยหอม

กล้วยกุ้งเขียว

ชื่ออื่นๆ : กล้วยทองเสา, กล้วยทุเรียน, กล้วยเรียน (ภาคใต้) กล้วยหอมทอง (แพร่)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Mautaut Red Banana.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (AAA group) “Kluai Kung Khieo”

ชื่อวงศ์ : MUSACEAE

ลักษณะของกล้วยกุ้งเขียว

ต้นกล้วยกุ้งเขียว ลำต้นสูง 2.5 – 3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 18 – 22 เซนติเมตร กาบด้านนอกเขียวอมชมพู ด้านในเหลืองอมเขียว

ใบ ก้านใบสีเขียว ขอบก้านใบสีชมพู ร่องใบเปิด

ดอก ปลีรูปไข่สีแดงอมม่วง ปลายแหลม กาบปลีเปิดจะม้วนงอขึ้น

ผล เครือหนึ่งมี 5 – 6 หวี หวีหนึ่ง 12 – 14 ผล ผลไม่มีเหลี่ยมค่อนข้างกลม เปลือกบางคล้ายกล้วยหอมแต่ปลายผลมนผลยาว
12 – 14 เซนติมตร กว้าง 3 – 4 เซนติเมตร ผลมีสีเหลืองรสหวาน กลิ่นหอมฉุน

ผลกล้วยกุ้งเขียว
ผลกล้วยกุ้งเขียว ผลกลม มนยาว

การขยายพันธุ์ของกล้วยกุ้งเขียว

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ  เติบโตเร็วในทุกสภาพพื้นดิน ที่ระบายน้ำได้ดี มีแสงแดดส่องตลอดวัน

ธาตุอาหารหลักที่กล้วยกุ้งเขียวต้องการ

ประโยชน์ของกล้วยกุ้งเขียว

  • ผลใช้รับประทานสด มีรสหวาน กลิ่นหอมฉุน
  • ปลูกเป็นพืชประดับภูมิทัศน์

สรรพคุณทางยาของกล้วยกุ้งเขียว

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยกุ้งเขียว

การแปรรูปของกล้วยกุ้งเขียว

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11047&SystemType=BEDO
https://rpplant.royalparkrajapruek.org
https://oer.learn.in.th

One Comment

Add a Comment