กล้วยงาช้าง ผลมีขนาดใหญ่ รสชาติหวาน หอม เนื้อแน่นเนื้อเป็นแป้งเก็บไว้ได้นาน

กล้วยงาช้าง

ชื่ออื่นๆ : กล้วยยักษ์, กล้วยโกก, กล้วยหมอนทอง

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Plantain

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (AAB group) “Kluai Chang”

ชื่อวงศ์ : Musaceae  (plantain subgroup)

ลักษณะของกล้วยงาช้าง

ต้น ลำต้นสูง 2 – 2.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15 เซนติเมตร กาบลำต้นมีสีเขียวเข้ม

ใบ ก้านใบมีสีเขียวเข้มร่องก้านใบปิด ใบกล้วยแข็งฉีกขาดง่าย

ดอก ปลีเป็นทรงกระบอก ยาวเรียวเส้นผ่านศูนย์กลางปลี 6 – 7 เซนติเมตร ยาว 20 – 25 เซนติเมตร กาบปลีมีสีม่วงอ่อน มีนวลมาก

ผล เครือหนึ่งจำนวนผลน้อย แต่ผลมีขนาดใหญ่มาก ผลกว้าง 5 – 6 เซนติเมตร ยาว 25 – 30 เซนติเมตร ลักษณะผลคล้ายกล้วยกล้าย แต่เมื่อผลแก่เหลี่ยมผลจะหายไป ผลขนาดใหญ่ เปลือกสีเหลือง เนื้อสีส้มอมครีม รสชาติหวาน หอม เนื้อแน่นเนื้อเป็นแป้งเก็บไว้ได้นาน

ต้นกล้วยงาช้าง
ต้นกล้วยงาช้าง ก้านใบมีสีเขียวเข้ม
ผลกล้วยงาช้าง
ผลกล้วยงาช้าง ผลดิบสีเขียว มีขนาดใหญ่

การขยายพันธุ์ของกล้วยงาช้าง

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

การปลูกเลี้ยง    ขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร วางหน่อลงปลูกกลางหลุม กลบดินโดยรอบให้แน่น หลังปลูก 1 เดือนให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จากนั้นให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สลับกับปุ๋ยอินทรีย์ทุก 3 เดือน

ธาตุอาหารหลักที่กล้วยงาช้างต้องการ

ประโยชน์ของกล้วยงาช้าง

ผลใช้รับประทานสด  เพราะเนื้อเหนียวและไส้แข็ง ไม่หวาน มักจะทำให้สุก เช่น ต้ม นึ่ง เผา ผลจะเหนียวขึ้นทำให้รสหวานขึ้น

สรรพคุณทางยาของกล้วยงาช้าง

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยงาช้าง

การแปรรูปของกล้วยงาช้าง

การแปรรูป เช่น ย่าง, เชื่อม หรือทำกล้วยฉาบ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9906&SystemType=BEDO
www.oer.kku.ac.th, www.suriyothai.ac.th, รวมรวมสายพันธุ์กล้วย

3 Comments

Add a Comment