กล้วยน้ำไท สายพันธุ์ของกล้วย เป็นกล้วยที่มีรสหวาน ไม่มีเมล็ด

กล้วยน้ำไท

ชื่ออื่นๆ : กล้วยน้ำไท, กล้วยน้ำไทย, กล้วยหอมเล็ก

ต้นกำเนิด : ภาคกลางพบมากในจังหวัดนครนายก กรุงเทพมหานคร

ชื่อสามัญ : Banana, Cultivated banana

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (AA Group) ‘Kluai Nam Thai’

ชื่อวงศ์ : MUSACEAE

ลักษณะของกล้วยน้ำไท

ต้น  ลำต้นเทียมสูงไม่เกิน 2.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นเทียม 15 ซม. กาบลำต้นเทียมด้านนอก มีประดำหนา ที่โคนมีสีชมพูอมแดง ด้านในสีชมพูอมแดง 

ใบ ก้านใบตั้ง มีร่องกว้าง มีปีกสีชมพู เส้นกลางใบสีชมพูอมแดง ก้านช่อดอกสีขน

ดอก  หรือปลี ใบประดับรูปไข่ค่อนข้างยาว สีด้านบนสีม่วงอมแดง สีด้านล่างสีซีดปลายใบประดับแหลม ม้วนขึ้น การเรียงของใบประดับไม่ซ้อนกันนัก ดอกก้านสั้น

ผล ขนาดผลใกล้เคียงกับกล้วยหอมจันทน์ กว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 10-11 ซม. รูปร่างผลไม่งอโค้งเหมือนกล้วยหอมจันทน์ ปลายผลมีจุกและมักมีก้านเกสรตัวเมียติด เปลือกหนา กลิ่นหอม เมื่อสุกมีสีเหลืองเข้ม และมีจุดดำเล็ก ๆ คล้ายกล้วยไข่ เนื้อเหลืองอมส้ม รสหวาน ไม่มีเมล็ด

ต้นกล้วยน้ำไท
ต้นกล้วยน้ำไท กาบลำต้นเทียมด้านนอก มีประดำหนา
ผลกล้วยน้ำไท
ผลกล้วยน้ำไท ผลไม่งอโค้ง ปลายผลมีจุก

การขยายพันธุ์ของกล้วยน้ำไท

การแยกหน่อ

การปลูก ขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร วางหน่อลงปลูกกลางหลุม กลบดินโดยรอบให้แน่น หลังปลูก 1 เดือนให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จากนั้นให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สลับกับปุ๋ยอินทรีย์ทุก 3 เดือน

การปลูกให้ได้กล้วยผลใหญ่  ขุดหลุมให้ลึก 50 เซนติเมตร กว้าง 60 เซนติเมตร รองด้วยปุ๋ยคอกมากๆ หลังจากนั้นเอาหน่อกล้วยลงหลุมและกลบดินให้แน่น

ธาตุอาหารหลักที่กล้วยน้ำไทต้องการ

ประโยชน์ของกล้วยน้ำไท

  • ผลสุกรับประทานเป็นผลไม้
  • กล้วยพันธุ์ดั้งเดิม

สรรพคุณทางยาของกล้วยน้ำไท

  • เปลือกดิบสดยังใช้ทาลิ้นเด็กแก้ละอองขาวได้

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยน้ำไท

การแปรรูปของกล้วยน้ำไท

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :  www.qsbg.org
ภาพประกอบ : www.pantip.com

One Comment

Add a Comment