กล้วยฤาษี
ชื่ออื่นๆ : จันป่า (เชียงใหม่) มะเขือเถื่อน (เลย) เหล่โก่มอ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) อาล่องยุ้ม (ละว้า-เชียงใหม่)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : กล้วยฤาษี, พลับป่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros glandulosa Lace
ชื่อวงศ์ : EBENACEAE
ลักษณะของกล้วยฤาษี
ต้น ไม้ต้นขนาดกลางสูง 5-15 เมตร เปลือกสีน้ำตาลแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปมนหรือขอบขนาน กว้าง 3-5.5 เซนติเมตร ยาว 8-14 เซนติเมตร โคนสอบทู่ๆ ปลายหยักเป็นติ่งแหลมสั้น หลังใบมีขนนุ่ม
ดอก ดอกออกเป็นช่อ ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้อยู่รวมกันเป็นช่อเล็กๆตามง่ามใบ ช่อหนึ่งมีหลายดอก ทั้งกลีบดอก และกลีบรองกลีบดอก มีอย่างละ 4-5 กลีบ ก้านดอกมีขนนุ่ม กลีบรองกลีบดอกยาว 4-6 มิลลิเมตร โคนกลีบเป็นรูปถ้วยปากกว้าง มีขนยาวๆ เป็นเส้นไหม กลีบดอกยาว 6-8 มิลลิเมตร โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปเหยือกน้ำ เกสรตัวผู้มี 14-30 อัน ดอกเพศเมียออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ตามง่ามใบ ลักษณะคล้ายดอกเพศผู้แต่ขนาดใหญ่กว่า
ผล ผลกลมหรือค่อนข้างกลมแป้น โต ผลคล้ายลูกพลับ เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-4 ซม. สูง 2.5-3.5 ซม. ผลแก่มีขนเป็นกระจุกแน่นตามบริเวณกลีบขั้วและปลายผล กลีบขั้วเหยียดแผ่ ขอบกลีบเป็นคลื่นบ้างเล็กน้อย ผลแก่เป็นสีดำ
การขยายพันธุ์ของกล้วยฤาษี
การเพาะเมล็ด, ติดตา, และต่อกิ่ง
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยฤาษีต้องการ
ประโยชน์ของกล้วยฤาษี
- ผลสุก รับประทานได้(ไทใหญ่,กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน,คนเมือง,ลั้วะ)
- ดอกอ่อน นึ่งหรือต้มกินกับน้ำพริก(ขมุ)
- เนื้อไม้แข็ง มัน หนักมีลาย สวย ชักเงาได้ดี นิยมใช้ทำด้ามปืน
- ลำต้น ใช้ทำสากครกตำข้าว(ลั้วะ)
- เนื้อไม้ ใช้ทำโครงสร้างต่างๆ ของบ้าน เช่น ไม้กระดานทำ ฝาบ้าน(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
- ลำต้น ใช้เป็นต้นตอเสียบกิ่งพลับ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
สรรพคุณทางยาของกล้วยฤาษี
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยฤาษี
การแปรรูปของกล้วยฤาษี
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9798&SystemType=BEDO
http://www.qsbg.org
One Comment