กล้วยหอมเขียว กลิ่นหอมฉุน รสหวาน เนื้อเละ เปลือกหนากว่ากล้วยหอมทอง
ชื่ออื่นๆ : กล้วยคร้าว, เขียวคอหัก, กล้วยเขียว
ต้นกำเนิด : เอเชีย
ชื่อสามัญ : Pisang Masak Hijau
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (AAA group “Cavendish” ) “Kluai Hom Khieo”
ชื่อวงศ์ : Musaceae
ลักษณะของกล้วยหอมเขียว
ต้น ลำต้นสูง 3.5 – 4.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 20 – 22 เซนติเมตรกาบลำต้นด้านนอกมีปื้นดำใหญ่ ด้านในมีสีชมพูอมแดง
ใบ ก้านใบมีร่องค่อนข้างกว้าง และครีบมีสีชมพูอมแดง เส้นกลางใบสีเขียว
ดอก ปลีรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายแหลม ด้านนอกมีสีแดงอมม่วง ด้านในมีสีแดงซีด
ผล เครือหนึ่งมีประมาณ 8 – 10 หวี หวีหนึ่งมี 14 – 18 ผล ผลกว้าง 3 – 4 เซนติเมตร ยาว 21 – 25 เซนติเมตร ปลายผลมนจุกสีเขียวสดเปลือกหนากว่ากล้วยหอมทอง เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมเขียว เนื้อสีขาว กลิ่นหอมฉุนค่อนข้างแรง รสหวาน เนื้อเละ
การขยายพันธุ์ของกล้วยหอมเขียว
ใช้หัว/เหง้า/หน่อ
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยหอมเขียวต้องการ
–
ประโยชน์ของกล้วยหอมเขียว
- ผลใช้รับประทานสด
- ใบตองสดสามารถนำไปใช้ห่อของ ทำงานประดิษฐ์ศิลปต่าง ๆ ได้แก่ กระทง บายศรี
- ใบตองแห้งใช้ทำกระทงใส่อาหาร และใช้ห่อผลไม้ เพื่อให้มีผิวสวยงามและป้องกันการทำลายของแมลงก้านใบและกาบ
- กล้วยแห้งใช้ทำเชือก
- กาบสดใช้สำหรับการแทงหยวกประกอบเมรุในการฌาปนกิจศพ หัวปลี (ดอกกล้วยน้ำว้า) ยังใช้รับประทานแทนผักได้ดีอีกด้วย สำหรับคุณค่าทางอาหาร กล้วยเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินเอ
สรรพคุณทางยาของกล้วยหอมเขียว
- โรคโลหิตจาง ในกล้วยมีธาตุเหล็กสูงจะเป็นตัวช่วยกระตุ้นการผลิตฮีโมโกลบินในเลือด และจะช่วยในกรณีที่มีสภาวะขาดกำลัง หรือภาวะโลหิตจาง
- โรคความดันโลหิตสูง กล้วยมีธาตุโปรแตสเซียมสูงสุด แต่มีปริมาณเกลือต่ำ ทำให้เป็นอาหารที่สมบูรณ์แบบที่สุดที่จะช่วยความดันโลหิตมาก อย.ของอเมริกา ยินยอมให้อุตสาหกรรมการปลูกกล้วยสามารถ โฆษณาได้ว่า กล้วยเป็นผลไม้พิเศษช่วยลดอันตรายอันเกิดจากเรื่องความดันโลหิตหรือโรคเส้นเลือดฝอยแตก
- กำลังสมอง นักเรียน 200 คน ที่โรงเรียน Twickenham ได้รับผลดีจากการสอบตลอดปีนี้ ด้วยการรับประทานกล้วย ในมื้ออาหารเช้า ตอนพัก และมื้ออาหารกลางวันทุกวัน เพื่อช่วยส่งเสริมกำลังของสมองในพวกเขา จากงานวิจัยแสดง ให้เห็นว่าปริมาณโปรแตสเซียมที่มีอยู่เต็มเปี่ยมในกล้วยสามารถให้นักเรียนมีการตื่นตัวในการเรียนมากขึ้น
- โรคท้องผูก ปริมาณเส้นใยและกากอาหารที่มีอยู่ในกล้วยช่วยให้การขับถ่ายเป็นปกติ และยังช่วยแก้ ปัญหาโรคท้องผูกโดยไม่ต้องกินยาถ่ายเลย
- โรคความซึมเศร้า จากการสำรวจเร็ว ๆ นี้ ในจำนวนผู้ที่มีความทุกข์เกิดจากความซึมเศร้าหลายคนจะมีความรู้สึกที่ดีขึ้นมากหลังการกินกล้วย เพราะมีโปรตีนชนิดที่เรียกว่า try potophan เมื่อสารนี้เข้าไปในร่างกายจะ ถูกเปลี่ยนเป็น serotonin เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นตัวผ่อนคลายปรับปรุงอารมณ์ให้ดีขึ้นได้ คือทำให้เรารู้สึกมีความสุขเพิ่มขึ้นนั่นเอง
- อาการเมาค้าง วิธีที่เร็วที่สุดที่จะแก้อาการเมาค้าง คือ การดื่มกล้วยปั่นกับนมและน้ำผึ้ง กล้วยจะทำให้ กระเพาะของเราสงบลง ส่วนน้ำผึ้งจะเป็นตัวช่วยหนุนเสริมปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือดที่หมดไปในขณะที่นมก็ช่วย ปรับระดับของเหลวในร่างกายของเรา
- อาการเสียดท้อง กล้วยมีสารลดกรดตามธรรมชาติที่มีผลต่อร่างกายของเรา ถ้าปัญหาเกี่ยวกับอาการเสียด ท้อง ลองกินกล้วยสักผล คุณจะรู้สึกผ่อนคลายจากอาการเสียดท้องได้ ซึ่งดร.จีนคาร์เพอร์ นักโภชนาการ กล่าวว่า กล้วยเป็นผลไม้ที่ช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อยในกระเพาะ (Dyspepsia) ได้เป็นอย่างดี การรับประทานกล้วยเป็นประจำจะทำให้กระเพาะแข็งแรง ปัญหาจากกรดในกระเพาะจะลดลง สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องแผลในกระเพาะจะมีอาการดีขึ้น
- ความรู้สึกไม่สบายในตอนเช้า การกินกล้วยเป็นอาหารว่างระหว่างมื้ออาหาร จะรักษาระดับน้ำตาลใน เส้นเลือดให้คงที่ เพื่อหลีกเลี่ยงความรู้สึกไม่สบายในตอนเช้า
- ยุงกัด ก่อนใช้ครีมทาแก้ยุงกัด ลองใช้ด้านในของเปลือกกล้วยทาบริเวณที่ถูกยุงกัด มีหลายคนพบอย่าง มหัศจรรย์ว่า เปลือกกล้วยสามารถแก้เม็ดผื่นคันที่เกิดจากยุงกัดได้
- ระบบประสาท ในกล้วยมีวิตามินบี สูงมาก ช่วยทำให้ระบบประสาทสงบลงได้ โรคน้ำหนักเกินและโรคที่ เกิดในที่ทำงาน จากการศึกษาของสถาบันจิตวิทยาในออสเตรียค้นพบว่า ความกดดันในที่ทำงานเป็นเหตุนำไปสู่ การกินอย่างจุบจิบ เช่นอาหารพวกช็อคโกแล็ต และอาหารประเภททอดกรอบต่าง ๆ ในจำนวนคนไข้ 5,000 คน ในโรงพยาบายต่าง ๆ นักวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นโรคอ้วนมากเกินไป และส่วนใหญ่ทำงานภายใต้ความกดดันสูง มาก จากรายงานสรุปว่า เพื่อหลีกเลี่ยงการตื่นตระหนกและนำไปสู่การกินอาหารอย่างบ้าคลั่ง เราจึงต้องควบคุม ปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือด ด้วยการกินอาหารว่างที่มีปริมาณคาร์โบโฮเดรตสูง เช่น กินกล้วยทุก 2 ชั่วโมง เพื่อรักษาปริมาณน้ำตาลให้คงที่ตลอดเวลา ไม่ต้องคำนึงถึงเรื่อยยา การกินกล้วยที่มีวิตามินบี 6 ซึ่งประกอบด้วย สารควบคุมระดับกลูโคสที่สามารถมีผลต่ออารมณ์ได้
- โรคลำไส้เป็นแผล กล้วยเป็นอาหารที่แพทย์ใช้ควบคุม เพื่อต้านทานการเกิดโรคลำไส้เป็นแผล เพราะ เนื้อของกล้วยมีความอ่อนนิ่มพอดี เป็นผลไม้ชนิดเดียวที่ทานได้ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากสำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องโรค ลำไส้เรื้อรัง และกล้วยยังมีสภาพเป็นกลางไม่เป็นกรด ทำให้ลดการระคายเคือง และยังไปเคลือบผนังลำไส้และ กระเพาะอาหารด้วย
- การควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ในวัฒนธรรมของหลายแห่งเห็นว่ากล้วย คือผลไม้ที่สามารถทำให้ อุณหภูมิเย็นลงได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะอุณหภูมิของอารมณ์ของคนที่เป็นแม่ที่ชอบคาดหวัง ตัวอย่างในประเทศไทย จะให้ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์รับประทานกล้วยทุกวันเพื่อให้แน่ใจว่า ทกรกที่เกิดมา จะมีอุณหภูมิเย็น
- การสูบบุรี่ กล้วยสามารถช่วยคนที่กำลังพยายามเลิกสูบบุหรี่เนื่องจากในกล้วยมีปริมาณของวิตามินซี เอ บี 6 และบี 12 ที่สูงมากและยังมีโปรแตสเซียมกับแมกนีเซียมที่ช่วยทำให้ร่างกายฟื้นคืนตัวได้เร็วอันเป็นผลจากการลดเลิกนิโคตินนั่นเอง
- ความเครียด โปรแตสเซียมเป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยให้การเต้นของหัวใจเป็นปกติ การส่งออกซิเจนไปยังสมองและปรับระดับน้ำในร่างกายเวลาเกิดอารมณ์เครียด อัตรา metabolic ในร่างกายของเราจะขึ้นสูงและทำให้ระดับโปรแตสเซียมในร่างกายของเราลดลงแต่โปรแตสเซียมที่มีอยู่สูงมากในกล้วยจะช่วยให้เกิดความสมดุล
- เส้นเลือดฝอยแตก จากการวิจัยที่ลงในวารสาร “The New England Journal of Medicine” การกินกล้วยเป็นประจำสามารถลดอันตรายที่เกิดกับเส้นโลหิตแตกได้ถึง 40%
- โรคหูด การรักษาหูดด้วยวิธีทางเลือกแบบธรรมชาติโดยการใช้เปลือกของกล้วยวางปิดลงไปบนหูด แล้วใช้แผ่นปิดแผลหรือเทปติดไว้ ให้ด้านสีเหลืองของเปลือกกล้วยออกด้านนอก ก็จะสามารถรักษาโรคหูดให้หายได้
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยหอมเขียว
- กล้วยหอมเขียวมีคุณค่าทางโภชนาการต่อปริมาณ 100 กรัม
- กล้วยหอมเขียวให้พลังงานถึง 125 กิโลแคลอรี่
- กล้วยหอมเขียวให้น้ำ 66.3 กรัม
- กล้วยหอมเขียวให้โปรตีน 0.9 กรัม
- กล้วยหอมเขียวให้ไขมัน 0.2 กรัม
- กล้วยหอมเขียวให้คาร์โบไฮเดรต 29.8 กรัม
- กล้วยหอมเขียวให้กากอาหาร 0.3 กรัม
- กล้วยหอมเขียวให้ใยอาหาร 1.9 กรัม
- กล้วยหอมเขียวให้เถ้า 0.9 กรัม
- กล้วยหอมเขียวให้แคลเซียม 26 มิลลิกรัม
- กล้วยหอมเขียวให้ฟอสฟอรัส 46 มิลลิกรัม
- กล้วยหอมเขียวให้เหล็ก 0.8 มิลลิกรัม
- กล้วยหอมเขียวให้เบต้า-แคโรทีน (โปร-วิตะมินเอ) 99 ไมโรกรัม
- กล้วยหอมเขียวให้ไทอะมีน (วิตะมินบี 1) 0.04 มิลลิกรัม
- กล้วยหอมเขียวให้ไรโบฟลาวิน (วิตะมิน 2) 0.07 มิลลิกรัม
- กล้วยหอมเขียวให้ไนอะซีน 1.0 มิลลิกรัม
- กล้วยหอมเขียวให้วิตะมินซี 27 มิลลิกรัม
การแปรรูปของกล้วยหอมเขียว
แปรรูปเป็นกล้วยบดเพื่อเป็นอาหารเด็ก เป็นส่วนผสมของขนม
เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับกล้วยหอมเขียว
References : www.bedo.or.th
รูปภาพจาก : www.kiosjamu.com
เรียบเรียงข้อมูลโดย : เกษตรตำบล.คอม
4 Comments