กล้วยหอมแคระ ลำต้นเตี้ย ปลูกได้ทั้งในกระถางและลงดินทั่วไป นิยมปลูกเป็นไม้มงคล

กล้วยหอมแคระ

ชื่ออื่นๆ : กล้วยหอมแคระ, กล้วยหอมแกรนด์เนน

ต้นกำเนิด : อเมริกากลางและอเมริกาใต้

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa sapientum L

ชื่อวงศ์ : MUSACEAE

ลักษณะของกล้วยหอมแคระ

ลำต้นเทียมสูง 1-1.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นประมาณ 18—25 ซม. กาบลำต้นด้านนอกมีปื้นสีดำทั่ว ด้านในสีชมพูอมแดง ก้านใบมีร่องค่อนข้างกว้าง เส้นกลางใบเป็นสีเขียว เนื้อใบค่อนข้างหนาและแผ่กว้าง ใบดกและหนาแน่นมาก

ก้านช่อดอกมีขน ใบประดับปลีเป็นรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายแหลม ด้านบนเป็นสีแดงอมม่วง มีนวลขาว ด้านล่างสีแดงซีด เนื้อใบประดับหนาและเหนียว เมื่อติดเป็นเครือจะมี 8-10 หวี หนึ่งหวีมีผลย่อย 14-18 ผล รูปทรงของผลจะคล้ายผลของกล้วยไข่มากกว่ารูปทรงของกล้วยหอมทั่วไป แต่ขนาดของผลจะใหญ่และยาวกว่ากล้วยไข่อย่างชัดเจน ผลสุกเป็นสีเหลือง เนื้อในเป็นสีเหลืองนวลอมส้ม รสชาติหวานหอมคล้ายกล้วยหอมทั่วไป

กล้วยหอมแคระ
กล้วยหอมแคระ ลำต้นเทียมสูง 1-1.5 เมตร เนื้อใบค่อนข้างหนา

การขยายพันธุ์ของกล้วยหอมแคระ

ขยายพันธุ์ด้วยหน่อ และเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

ปลูกได้ทั้งในกระไถถางและลงดินทั่วไป ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกกล้วยหอมแคระที่สุด คือ ดินร่วยซุย ควรปลูกในที่ที่มีแดดจัด รดน้ำเพื่อให้ความชุ่มชื่นแต่ไม่ถึงกับแฉะ ปุ๋ยที่ควรจะใช้ คือปุ๋ยสูตรเสมอ 16-16-16 ไม่มีโรคและแมลงศัตรูพืช เมื่อปลูกกล้วยหอมแคระไปได้ประมาณ 1 ปี กล้วยหอมแคระก็จะติดดอกออกผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นกล้วยหอมแคระที่ปลูกลงดินจะยิ่งให้ลูกเยอะกว่าการปลูกในกระถาง

ปลีกล้วยหอมแคระ
ปลีกล้วยหอมแคระ ปลีค่อนข้างยาว ปลายแหลม ด้านบนเป็นสีแดงอมม่วง

ธาตุอาหารหลักที่กล้วยหอมแคระต้องการ

ประโยชน์ของกล้วยหอมแคระ

  • กล้วยหอมแคระเป็นไม้มงคลนิยมปลูกไว้หน้าบ้าน
  • ปลูกในกระถางได้
  • ผลรับประทานได้

สรรพคุณทางยาของกล้วยหอมแคระ

  • ยังไม่มีข้อมูล

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยหอมแคระ

การแปรรูปของกล้วยหอมแคระ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9984&SystemType=BEDO
https://www.gotoknow.org
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment