กล้วยหอม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (AAA Group) “Kluai hom”
วงศ์ : Musaceae
กลุ่มย่อย : Gross Miheal
ชื่อท้องถิ่น : กล้วยหอม กล้วยหอมทอง
แหล่งที่ปลูก ได้แก่
- ภาคเหนือ ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่
- ภาคกลาง ได้แก่ ปทุมธานี สระบุรี นนทบุรี จันทบุรี
- ภาคใต้ ได้แก่ เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์
- อีสาน ได้แก่ หนองคาย สกลนคร

สายพันธุ์
สายพันธุ์แบ่งเป็น 3 กลุ่มเล็กคือ
- กรอสมิเชล : หอมทอง ต้นไม่สูงมากเหมือนกล้วยหอมอื่นๆ ผลผลิต 4-6 หวีต่อเครือ เมื่อสุกผิวผลเป็นสีเหลืองทอง ปลายผลจุกเปลี่ยนสีทันทีหลังเนื้อสีส้มอ่อนๆ กลิ่นหอม รสหวาน กล้วยหอมทองใต้หวัน นำเข้าจากใต้หวัน เมื่อสุกผิวผลเป็นสีเหลืองส้ม เปลือกหนา เนื้อสีครีม-ส้มอ่อนๆ รสหวานน้อยกว่าหอมทอง
- คาเวนดิช : หอมเขียวค่อม ไจแอ้นคาเวนดิช แกรนด์เนน หอมเขียว จำนวนหวีต่อเครื่อ ผลต่อหวี มากกว่าหอมทอง ปลายผลทู่ไม่มีจุก เมื่อสุกผิวเป็นสีเขียวอมเหลือง เนื้อสีขาว รสหวาน แต่เละเร็ว กลิ่นฉุ่น
- กล้วยครั่ง : กล้วยนาก กล้วยกุ้ง
การขยายพันธุ์
- หน่อใบแคบ สมบูรณ์ ปราศจากศัตรูพืช หน่อยาว 25-35 เซนติเมตร มีใบแคบ 2-3 ใบ
- ต้นพันธุ์ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หรือการฝ่าหน่อ
การปลูก
นิยมปลูกในช่วงฤดูฝน ระยะปลูก 2-2.5×2.5-3 เมตร 200-300 ต้นต่อไร่ เตรียมหลุมปลูกขนาด 50x50x50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก 5 กิโลกรัม+ปุ๋ยร็อคฟอสเฟส 50 กิโลกรัม ผสมกับหน้าดินใส่ลงในหลุมให้สูง 2/3 หลุม วางหน่อหรือต้นกล้วยในหลุม ใช้มีดคมกรีดจากก้นถุงขึ้นมาถึงปากถุงทั้งซ้ายและขาว ดึงถุงพลาสติกออกโดยระวังอย่าให้ดินแตก กลบดินที่เหลือลงในหลุม กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น คลุมดินด้วยฟางข้าว หรือหญ้าแห้ง รดน้ำให้ชุ่ม
การใส่ปุ๋ย
ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 หรือ 15-15-15 อัตรา 1 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี แบ่งใส่ 4 ครั้งๆ ละ 250 กรัม ดังนี้
- ครั้งที่ 1 ใส่หลังปลูก 1 สัปดาห์ ใช้สูตร 15-15-15
- ครั้งที่ 2 ใส่หลังจากครั้งที่ 1 ประมาณ 3 เดือน ใช้สุตร 15-15-15
- ครั้งที่ 3 ใส่หลังจากครั้งที่ 2 ประมาณ 3 เดือน ใช้สุตร 15-15-15
- ครั้งที่ 4 ใส่หลังจากครั้งที่ 3 ประมาณ 2-3 เดือน ใช้สูตร 13-13-21
การแต่งหน่อ
หลังปลูก 3-4 เดือน จะมีหน่อขึ้นร่อบๆ โคน ตัดไปเรื่อยๆ หลังปลูก 6 เดือน เลือกไว้หน่อทดแทน 1-2 หน่อ ให้หน่อที่ 1 และหน่อที่ 2 มีอายุห่างกัน 4 เดือน เพื่อให้มีผลผลิตเก็บเกี่ยวได้ต่อเนื่อง
การตัดแต่งใบ
เลือกตัดใบแก่ ใบที่เป็นโรคหรือถูกทำลายออก ไม่ควารตัดจนเหลือใบน้อยกว่า 7-12 ใบ เพราะใบใช้ปรุงอาหารเพิ่มความเจริญเติบโตของผลกล้วย
การตัดปลี
ตัดปลีทิ้งเมื่อเห็นหวีสุดท้าย หากทิ้งไว้นาน ทำให้ผลของหวีอื่นๆ มีขนาดเล็กแกรน
การห่อเครือ
ผลกล้วยมีสีสวยสม่ำเสมอ ไม่มีแผลที่เกิดจากแมลงและโรคทำลาย การเสียดสีภายนอก เมื่อกล้วยสุก ผลมีสีสวยน่าบริโภคกว่ากล้วยที่ไม่คลุมถุง
วัสดุที่ใช้ : ถุงพลาสติก/โพลีเอททิลีน กระดาษ ถุงปุ๋ย นิยมห่อเครือหลังตัดปลี
การค้ำเครือ : ป้องกันลำต้นหักล้ม เครื่องกล้วยมีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก

การเก็บเกี่ยว
ความอ่อนแก่ของกล้วย อาจดูจากลักษณะผล เช่น ขนาดผล เหลี่ยมกล้วย หรือนับจากอายุวันแทงปลี หรือวันตัดปลี ระยะเก็บเกี่ยวกล้วยขึ้นกับระยะเวลาในการขนส่ง กล้วยหอมเก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 90 วันหลังการตัดปลี นานกว่านี้ ผลกล้วยอาจแตก สุกคาต้น (กล้วยสุกลม) รสชาติไม่อร่อย สีของผิวกระด้างไม่นวลสวยเหมือนที่นำไปบ่ม หากขนส่งไปขายไกลๆ สามารถตัดกล้วยที่ความแก่ประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์
การแยกผลผลิต ดูลักษณะ ขนาดผล การเรียงตัวของหวี และการเกิดโรค/แมลง การชำแหละหวีและการเช็คสีเนื้อ ตัดหวีออกจากก้านเครือกล้วย ใช้มีดปาดผลของกล้วยลูกใดลูกหนึ่งเพื่อดูสีเนื้อ เนื้อกล้วยที่สุกได้ประมาณ 75% จึงจะสามารถส่งออกได้ เนื้อกล้วยที่มีสีขาวหรือเหลืองเกินไปทำการคัดออก
การตัดแต่งหวีกล้วย สะดวกในการทำความสะอาดและสวยงาม การทำความสะอาดสิ่งสกปรกที่ติดมากับกล้วย
สามารถติดตามความรู้ ข่าวสาร การเกษตรและความรู้เกี่ยวกับเรื่องกล้วย ได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
www.hort.ezathai.org
www.flickr.com
2 Comments