กวาวเครือขาว
ชื่ออื่นๆ : กวาวเครือขาว (เหนือ), ทองเครือตามจอมทอง (ชุมพร), กวาวเครือ, กวาว, ทองเครือ, จานเครือ, โพะตะกู, ตานเคือ, ตานเครือกวาว, เครือทองกวาว, กวาวหัว (กะเหรี่ยงกาญจนบุรี)
ต้นกำเนิด : ขึ้นบริเวณป่าเบญจพรรณในภาคเหนือภาคตะวันตกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือแต่จะพบมากในภาคเหนือของไทยในบริเวณชายป่าที่มีอินทรียวัตถุสูงและมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 300-800 เมตร
ชื่อสามัญ : กวาวเครือขาว, Pueraria mirifica, White kwao krua
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pueraria candollei Grah. ex Benth var. mirifica (Shaw&Suvat.) Niyomdham
ชื่อวงศ์ : Leguminosae (Fabaceae)
ลักษณะของกวาวเครือขาว
ต้น ไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่เถาจะเจริญเติบโตพันหรือยึดเกาะกับต้นไม้ใหญ่
ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือมีใบย่อย 3 ใบขนาดใหญ่รูปไข่กว้าง 8-15 เซนติเมตรยาว 10-20 เซนติเมตร มีสีเขียวคล้ายกับใบถั่วคล้า
ดอก เป็นดอกเดี่ยวมีขนาดให่คล้ายกับดอกแคสีน้ำเงินอมม่วงจะออกดอกเมื่อต้นมีอายุมากๆ
ผล ผลกลม มีหัวใต้ดิน ผลจะมียางสีขาวคล้ายน้ำนม เนื้อในสีขาวคล้ายมันแกว เนื้อจะเปราะ มีเส้นมาก หัวที่ยังเล็ก เนื้อในจะละเอียด มีน้ำมาก เป็นฝักแบนมี 2 ชนิดคือชนิดหัวขาวและหัวแดงหัวแดงมีพิษมากไม่นิยมใช้ทํายาทั้งสองชนิดกินมากจะเป็นพิษหัวใต้ดินมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15-25 เซนติเมตร
การขยายพันธุ์ของกวาวเครือขาว
การเพาะเมล็ด
การปลูก
กวาวเครือเป็นพืชตระกูลถั่วควรเพาะปลูกในฤดูฝนจะเจริญเติบโตงอกงามดีในช่วงเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม
การเตรียมดิน
เหมือนกับการปลูกถั่วทั่วไปโดยการไถดะ 1 ครั้งไถแปลง 1 ครั้งแล้วไถพรวนกําจัดวัชพืชออกพร้อมกับการหว่านปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักพรวนไปด้วยกันแล้วยกร่องเป็นการระบายน้ำหรือทางเดินประมาณ50 เซนติเมตรแปลงกว้างประมาณ 80 เซนติเมตร – 1 เมตร
ธาตุอาหารหลักที่กวาวเครือขาวต้องการ
ประโยชน์ของกวาวเครือขาว
- บำรุงเนื้อหนังให้เต่งตึง
- ช่วยขยายทรวงอกให้มีขนาดใหญ่ขึ้น แก้ปัญหาทรวงอกหย่อนคล้อย ให้กลับมาเต่งตึง
- บำรุงสุขภาพ บำรุงกำลัง
- เป็นยาอายุวัฒนะสำหรับผู้สูงอายุ
- แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
- แก้อ่อนเพลีย ผอมแห้ง นอนไม่หลับ
- มีฮอร์โมนเพศหญิงสูง
- ช่วยบำรุ่งเส้นผมให้ดกดำ เพิ่มเส้นผม
- บำรุงความกำหนัด
- ทำให้อวัยวะสืบพันธุ์และมดลูกมีเลือดมาคั่งมากขึ้น
- บำรุงอวัยวะสืบพันธุ์ให้เจริญ
- แก้โรคตาฟาง ต้อกระจก
- ทำให้ความจำดี ทำให้มีพลัง เคลื่อนไหวคล่องแคล่ว
- บำรุงโลหิต กินได้นอนหลับ
- ผิวหนังเต่งตึงมีน้ำมีนวล
- ช่วยลดอาการของสตรีวัยหมดประจำเดือน
- ลดอาการร้อนวูบวาบ
- มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและช่วยให้เรื่องของความจำและการเรียนรู้
- ช่วยลดอาการช่องคลอดแห้งในสตรีวัยหมดประจำเดือนได้
- เพิ่มความกระชุ่มกระชวยให้กับร่างกาย
- ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
- แก้อาการปวดประจำเดือน ปัญหาประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ
สรรพคุณทางยาของกวาวเครือขาว
- หัว บํารุงกําลังบํารุงเนื้อให้เต่งตึงขึ้นบํารุงสุขภาพให้สมบูรณ์บํารุงความกําหนัดเป็นยาอายุวัฒนะ ทําให้หน้าอกโตทําให้เส้นผมที่หงอกกลับดําและเพิ่มเส้นผมแก้โรคตาฟางต้อกระจกทําให้ความจําดีทําให้มีพลังการเคลื่อนไหวเดินเหินคล่องแคล่วช่วยบํารุงโลหิตช่วยให้กินได้นอนหลับ
- เปลือกเถา นํามาใช้เป็นยาแก้พิษงู
สารสำคัญ
สารที่ออกฤทธิ์สําคัญที่พบในหัวกวาวเครือขาวเป็นสารที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิงได้แก่ ไมโรเอสตรอล (miroestrol) และดิออกซี่ไมโรเอสตรอล (deoxymiroestrol) ซึ่งมีฤทธิ์แรงแต่มีปริมาณน้อยและมีไฟโตรเอสโตรเจน (phytoestrogens) ที่มีฤทธิ์อ่อนแต่มีปริมาณมากกว่าจําพวกไอโซฟลาโวน (isoflavones) อีกหลายชนิดเช่น daidzein, genistein, daidzin, genistin, puerarin, mirificin และ kwakhurin
คุณค่าทางโภชนาการของกวาวเครือขาว
การแปรรูปของกวาวเครือขาว
การแปรรูปเป็นแคปซูล
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11254&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com
One Comment