กะตังใบ ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก มีผลกลม ผิวบาง

กะตังใบ

ชื่ออื่นๆ : ต้างไก่ (อุบลราชธานี) คะนางใบ(ตราด) ตองจ้วม, ตองต้อม (เหนือ) บั่งบายต้น (ตรัง) ช้างเขิง, ดังหวาย (นราธิวาส) เรือง

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : กะตังใบ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Leea indica (Burm.f.) Merr.

ชื่อวงศ์ : LEEACEAE

ลักษณะของกะตังใบ

ต้น ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ลำต้น สูง 3-5 เมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-8 เซนติเมตรลักษณะลำต้นเกลี้ยง

ใบ ใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยมี 3-5 ใบ รูปขอบขนานแกมรูปไข่หรือรูปรี ขนาด 7-10 x 8 – 22 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ หรือเว้าเล็กน้อยขอบใบหยักซี่ฟัน

ดอก สีขาวอมเขียว ออกเป็นช่อแยกแขนง ช่อดอกยาว 15-20 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงยาว 0.2-0.3 เซนติเมตร เชื่อมติดกันที่โคน

ผล รูปกลมแป้น ผิวบาง มีเนื้อนุ่ม สีม่วงดำ ช่วงการออกดอกและติดผล ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม

ต้นกะตังใบ
ต้นกะตังใบ ผลกลม ผิวบาง มีเนื้อนุ่ม ผลอ่อนมีสีเขียวพอแก่จัดมีสีแดงเข้มจนถึงสีม่วงดำ

การขยายพันธุ์ของกะตังใบ

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่กะตังใบต้องการ

ประโยชน์ของกะตังใบ

ผลสุกใช้รับประทานได้ และใช้เป็นเหยื่อสำหรับตกปลา

สรรพคุณทางยาของกะตังใบ

  • ราก ใช้เป็นยาแก้ไข้ ขับเหงื่อ แก้บิด รักษาโรคคุดทะราด แก้ปวดเมื่อยตาม ร่างกาย แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว ดับร้อน
  • ทั้งต้น ใช้ร่วมกับอบเชยเป็นยาระงับอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ

คุณค่าทางโภชนาการของกะตังใบ

การแปรรูปของกะตังใบ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10233&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment