กะทกรก
ชื่ออื่นๆ : รกช้าง (ระนอง) หญ้ารกช้าง (พังงา) รุ้งนก (เพชรบูรณ์) ผักบ่วง (สกลนคร) ยันฮ้าง (อุบลฯ) ผักขี้ริ้ว ห่อทอง ตำลึงทอง ตำลึงฝรั่ง (ชลบุรี) เถาเงาะ เถาสิงห์โต (ชัยนาท) เงาะป่า (กาญจนบุรี)
ต้นกำเนิด : กะทกรก เป็นพรรณไม้ที่พบมากบริเวณแถวพระบาทจังหวัดสระบุรี จันทบรี พิษณุโลก ลำพูน
ชื่อสามัญ : กะทกรก Fetid passionflower, Scarletfruit passionflower, Stinking Passion Flower
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Passiflora foetida L.
ชื่อวงศ์ : OLACACEAE
ลักษณะของกะทกรก
ต้น เป็นไม้เถาเลื้อยคล้ายตำลึง เถาค่อนข้างคดไปงอมา เถามีหนามเล็ก ๆ ขึ้นอยู่ห่าง ๆ โดยทั่วไป
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว รูปใบมนโค้งผิวเรียบปลายใบแหลมโดยแยกเป็นสามแฉก ใบและเส้นใบบริเวณที่ติดต่อกันมีสีแดงเรื่อ บริเวณใกล้โคนก้านใบมีแฉกแหลมเล็กเรียงตรงกันข้ามสลับกัน ก้านใบ มีขนาดก้านไม้ขีด ยาว 5 –6 เซนติเมตร มีขนอ่อนเป็นฝอยขนาดเล็ก
ดอก ดอกมีลักษณะก้านดอกยาวกว่าใบ ดอกบานออกกลมกว้าง กลีบดอกสีขาวแซมด้วยริ้วสีม่วง
ผล ค่อนข้างกลม มีใบประดับหุ้ม เมื่ออ่อนสีเขียว สุกแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้ม และห่อหุ้มด้วย “รก” ออกดอกออกผลในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน
การขยายพันธุ์ของกะทกรก
ใช้เมล็ด
นิเวศวิทยาและการแพร่กระจายขึ้นอยู่ตามที่รกร้างหรือขอบไร่ชายนา และบริเวณป่าพื้นราบ โดยเลื้อยพันกิ่งต้นไม้อื่น ๆ
ธาตุอาหารหลักที่กะทกรกต้องการ
ประโยชน์ของกะทกรก
- ยอด ใช้เป็นผักสด มีรสขมเล็กน้อย หรือลวกจิ้มกับน้ำพริกและใช้แกงเลียง
- ผล ใช้กินเมล็ดและเยื่อหุ้มเมล็ด ทางด้านสมุนไพร
- เนื้อไม้ ใช้เป็นยาควบคุมธาตุ ถอนพิษเบื่อเมาทุกชนิดและใช้รักษาบาดแผล
สรรพคุณทางยาของกะทกรก
ส่วนที่ใช้ : เนื้อไม้ เปลือก เมล็ด ราก ใบ
- ต้นและใบใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรค ได้แก่ กินถอนแก้พิษเบื่อเมา เป็นยาคุมธาตุ ภายนอกใส่รักษาแผล เปลือกต้มรมแผลเน่าเปื่อย รากรับประทานแก้ไข้ ต้นรับประทานแก้กามโรค รากต้มกินแก้ไข้เด็กตัวร้อน ใบตำสุมศรีษะ แก้หวัดคัดจมูก เปลือกเป็นยาชูกำลัง
- ราก ใช้ต้มน้ำดื่มแก้ไข แก้กามโรค
- ใบ ใช้ตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำดื่มเป็นยาเบื่อและขับพยาธิ ดอก ขับเสมหะ แก้ไอ
- ผล แก้ปวด บำรุงปอด ใบสด ใช้พอกแก้สิว ต้น ใช้ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ไอ และอาการบวม
คุณค่าทางโภชนาการของกะทกรก
การแปรรูปของกะทกรก
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12179&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com
One Comment