กระทือพิลาส นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ ยอดอ่อนรับประทานได้

กระทือพิลาส

ชื่ออื่นๆ : ไพลเหลือง, ดาเงาะ, กระทือช้าง, กะทือช้าง, จะเงาะ, กระทือป่า, ดางเงาะ

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Beehive ginger, Ginger wort, Malaysian ginger

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber spectabile Griff.

ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE

ลักษณะของกระทือพิลาส

ต้น พืชล้มลุกเป็นจัดอยู่ในวงศ์เดียวกันกับขิง มีเหง้าใต้ดิน สูง 2-3 เมตร

ใบ เดี่ยวเรียงสลับ รูปหอก กว้าง 6-10 ซม. ยาว 30-50 ซม.

ดอก ออกเป็นช่อสีเหลือง รูปทรงกระบอกแข็ง กว้าง 6-7 ซม. ยาว 10-30 ซม. เกิดจากใบประดับ เรียงซ้อนอัดกันแน่น กลีบรองดอกสีครีม ยาวถึง 3.5 ซม. ผิวเกลี้ยง ดอกย่อยเป็นกรวย ยาว 3 ซม. ปลายกว้างถึง 1 ซม. กลีบปาก แยกเป็น 3 แฉก สีม่วงดำมีจุดสีเหลือง ปลายแฉก ตรงกลางเว้าตื้นอ้า เป็น 2 แฉกเล็ก เกสรผู้อันเดียว ก้านสั้น อับเรณูยาว 1.2 ซม. ก้านชูเกสร เมียสีม่วง รังไข่มีขนประปรายสีดำ

ผล รูปรีมีขนาดกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3 เซนติเมตร ติดผลในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม

ต้นกะทือพิลาส
ต้นกะทือพิลาส มีเหง้าใต้ดิน ใบรูปหอก

การขยายพันธุ์ของกระทือพิลาส

ใช้วิธีแยกหัวหรือเหง้าจากกอเดิมไปปลูก

ธาตุอาหารหลักที่กระทือพิลาสต้องการ

ประโยชน์ของกระทือพิลาส

นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ ยอดอ่อนรับประทานได้

สรรพคุณทางยาของกระทือพิลาส

เหง้า ใช้ต้มดื่ม ช่วยขับลม บรรเทาอาการปวดท้อง แก้ไอ แก้หืด และบำรุงน้ำนมสำหรับหญิงที่เพิ่งคลอดบุตร

ดอกกะทือพิลาส
ดอกกระทือพิลาส ดอกสีเหลือง แข็ง

คุณค่าทางโภชนาการของกระทือพิลาส

การแปรรูปของกระทือพิลาส

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10673&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment