กะหนานปลิง
ชื่ออื่นๆ : กะหนานปลิง หูควาย (ประจวบคีรีขันธ์), ชะต่อละ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ตองเต๊า ปอเต๊า (ภาคเหนือ), เต้าแมว (เชียงใหม่), ปอหูช้าง สนานดง สากกะเท้า (อุตรดิตถ์), สลักกะพาด (สระบุรี)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : กะหนานปลิง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pterospermum acerifolium
ชื่อวงศ์ : STERCULIACEAE
ลักษณะของกะหนานปลิง
ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 18-25 ม. เปลือกสีเทาหรือน้ำตาลอ่อน ค่อนข้างเรียบ
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปทรงไม่แน่นอน ส่วนใหญ่รูปไข่หรือรูปรี ค่อนข้างกว้างจนเกือบเป็นแผ่นกลม ปลายแหลม โคนเว้าลึกคล้ายรูปหัวใจ หรือก้านใบติดกับแผ่นใบล้ำจากโคนใบ ใบของต้นกล้ามีขนาดใหญ่มาก แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ค่อนข้างเกลี้ยง ด้านล่างมีขนสีเทาเป็นกระจุกหนาแน่น และมีเส้นร่างแหปรากฎชัด
ดอก ดอกออกเดี่ยวๆ ตามง่ามใบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวอมเหลือง เกสรเพศผู้สมบูรณ์ 15 อัน แยกออกเป็น 5 มัด มัดละ 3 อัน เกสรเพศผู้ไม่สมบูรณ์ 5 อัน เรียงสลับกับมัดเกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์ รังไข่สั้น รูปทรงกระบอกห้าเหลี่ยม ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน
ผล ผลรูปทรงกระบอกห้าเหลี่ยม กว้าง 5-7 ซม. ยาว 14-20 ซม. ปลายแหลมมน โคนผลคอดเรียวเป็นก้านทรงกระบอกแคบๆ ผลแก่แตกออกเป็น 5 เสี่ยง เมล็ดมีจำนวนมาก รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านบนเป็นปีกบางยาว สีชา ติดผลช่วงเดือน มีนาคม-มิถุนายน
การขยายพันธุ์ของกะหนานปลิง
พบตามป่าดิบ ระดับความสูง 50-400 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล
ธาตุอาหารหลักที่กะหนานปลิงต้องการ
ประโยชน์ของกะหนานปลิง
เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง ปลูกเป็นไม้ประดับ ให้ร่มเงา ในอินเดียภาคเหนือใช้ดอกเป็นยาฆ่าแมลง และบางครั้งใช้ดอกเป็นอาหาร เนื้อไม้สดสีชมพูเรื่อๆ แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
สรรพคุณทางยาของกะหนานปลิง
คุณค่าทางโภชนาการของกะหนานปลิง
การแปรรูปของกะหนานปลิง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10779&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com