กะหล่ำปม พืชกระกูลกะหล่ำ ต้นสีเขียวและสีม่วง

กะหล่ำปม

ชื่ออื่นๆ : กะหล่ำปม, โคห์ลราบิ, ผักกาดหัวบนดิน (กรุงเทพมหานคร)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Kohlrabi, Turnip Rooted Cabbage

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brassica oleracea L. var. gongylodes L.

ชื่อวงศ์ : BRASSICACEAE (CRUCIFERAE)

ลักษณะของกะหล่ำปม

กะหล่ำปม เป็นพืชผักอยู่ในตระกูลกะหล่ำ เป็นพืชล้มลุกสองปี ลำต้นส่วนที่อยู่ติดระดับดินพองออกเป็นรูปทรงกลมหรือกลมแป้น เส้นผ่านศูนย์กลาง 5-10 ซม. มีทั้งชนิดลำต้นสีเขียวและม่วง

ใบ ใบเดี่ยว รูปรีหรือรูปไข่แกมรูปรี ปลายแหลมถึงป้าน ขอบหยักซี่ฟันหยาบๆ โดยเฉพาะส่วนใกล้โคนใบมักเว้าลึกถึงเส้นกลางใบ ก้านใบเล็กและยาว แผ่นใบมีนวล ชอบอากาศเย็น

กะหล่ำปม
ลำต้นส่วนที่อยู่เหนือดินรูปทรงกลม มีสีม่วง

การขยายพันธุ์ของกะหล่ำปม

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและย้ายกล้าปลูกในแปลง

ผักตระกูลนี้มีเมล็ดค่อนข้างเล็ก บางชนิดมีราคาแพงมาก เพราะส่วนใหญ่ต้องสั่งเมล็ดมาจากต่างประเทศ
– วิธีปลูก หยอดเมล็ดเป็นหลุม ๆ ละ 3-5 เมล็ด ห่างกันหลุมละ 20 เซนติเมตร หรือโรยเมล็ดบาง ๆ เป็นแถวห่างกันแถวละ 20 เซนติเมตร หลังหยอด
เมล็ดหรือโรยเมล็ด 10 วัน หรือเมื่อมีใบจริง 2-3 ใบ ถอนแยกให้เหลือหลุมละ 2 ต้น หรือหากโรยเมล็ดเป็นแถวให้ถอนอีก ระวังระยะต้นไม่ให้ชิดกัน
เกินไป
– ใส่ปุ๋ยยูเรียหลังจากถอนแยกหรือทำระยะปลูกแล้ว
– หลังใส่ปุ๋ยครั้งแรก 10 วันใส่ปุ๋ยยูเรียครั้งที่สอง
– อายุการเก็บเกี่ยวผักแต่ละชนิดแตกต่างกันเล็กน้อย เช่น คะน้า กวางตุ้ง เก็บเกี่ยวได้เมื่อมีอายุ 30-45 วัน ผักกาดหัว 45-55 วัน ผักกาดขาวปลี
เขียวปลี กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 50-60 วัน หลังหยอดเมล็ด
– เมื่อเก็บเกี่ยวไม่ควรถอนผักทั้งต้น เก็บผักให้เหลือใบทิ้งไว้กับต้น 2-3 ใบ ต้นและใบที่เหลือจะสามารถเจริญให้เป็นผลผลิตเก็บเกี่ยวได้อีก 2-3 ครั้ง
– ข้อควรระวัง ต้องให้น้ำสม่ำเสมอ ผักตระกูลนี้มักมีปัญหาโรคและแมลงค่อนข้างมาก ต้องคอยดูแลเอาใจใส่ใกล้ชิด

กะหล่ำปมเขียว
ลำต้นส่วนที่อยู่เหนือดินรูปทรงกลม มีสีม่วง

ธาตุอาหารหลักที่กะหล่ำปมต้องการ

ประโยชน์ของกะหล่ำปม

เนื้อในของกะหล่ำปมมีลักษณะและรสชาติคล้ายต้นบรอคโคลี หวาน กรอบ อร่อย ไม่แพ้กะหล่ำปลีชนิดอื่นๆ เพียงแค่ปอกเปลือกออกก่อน ก็สามารถนำมาปรุงอาหารได้หลายประเภท เช่น แกงส้ม ผัดน้ำมันหอย ต้มจับฉ่าย ยำ พล่า แกงจืด สลัด อาหารทะเล ผัดกับไข่ ใบอ่อน ต้มหรือ ผัดแบบ ปวยเหล็ง หรือใช้ทำส้มตำแทนมะละกอ อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ซึ่งช่วยในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง และมีแคลเซียมสูง ช่วยในการเสริมสร้างกระดูกและฟัน ช่วยเสริมสร้างการทำงานของร่างกายให้มีประสิทธิภาพ

สรรพคุณทางยาของกะหล่ำปม

คุณค่าทางโภชนาการของกะหล่ำปม

การแปรรูปของกะหล่ำปม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10014&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment