กล้วยหอม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (AAA Group) “Kluai hom”
วงศ์ : Musaceae
กลุ่มย่อย : Gross Miheal
ชื่อท้องถิ่น : กล้วยหอม กล้วยหอมทอง
แหล่งที่ปลูก ได้แก่
- ภาคเหนือ ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่
- ภาคกลาง ได้แก่ ปทุมธานี สระบุรี นนทบุรี จันทบุรี
- ภาคใต้ ได้แก่ เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์
- อีสาน ได้แก่ หนองคาย สกลนคร
สายพันธุ์กล้วยหอม
สายพันธุ์แบ่งเป็น 3 กลุ่มเล็กคือ
- กรอสมิเชล : หอมทอง ต้นไม่สูงมากเหมือนกล้วยหอมอื่นๆ ผลผลิต 4-6 หวีต่อเครือ เมื่อสุกผิวผลเป็นสีเหลืองทอง ปลายผลจุกเปลี่ยนสีทันทีหลังเนื้อสีส้มอ่อนๆ กลิ่นหอม รสหวาน กล้วยหอมทองใต้หวัน นำเข้าจากใต้หวัน เมื่อสุกผิวผลเป็นสีเหลืองส้ม เปลือกหนา เนื้อสีครีม-ส้มอ่อนๆ รสหวานน้อยกว่าหอมทอง
- คาเวนดิช : หอมเขียวค่อม ไจแอ้นคาเวนดิช แกรนด์เนน หอมเขียว จำนวนหวีต่อเครื่อ ผลต่อหวี มากกว่าหอมทอง ปลายผลทู่ไม่มีจุก เมื่อสุกผิวเป็นสีเขียวอมเหลือง เนื้อสีขาว รสหวาน แต่เละเร็ว กลิ่นฉุ่น
- กล้วยครั่ง : กล้วยนาก กล้วยกุ้ง
การขยายพันธุ์กล้วยหอม
- หน่อใบแคบ สมบูรณ์ ปราศจากศัตรูพืช หน่อยาว 25-35 เซนติเมตร มีใบแคบ 2-3 ใบ
- ต้นพันธุ์ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หรือการฝ่าหน่อ
การปลูกกล้วยหอม
นิยมปลูกในช่วงฤดูฝน ระยะปลูก 2-2.5×2.5-3 เมตร 200-300 ต้นต่อไร่ เตรียมหลุมปลูกขนาด 50x50x50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก 5 กิโลกรัม+ปุ๋ยร็อคฟอสเฟส 50 กิโลกรัม ผสมกับหน้าดินใส่ลงในหลุมให้สูง 2/3 หลุม วางหน่อหรือต้นกล้วยในหลุม ใช้มีดคมกรีดจากก้นถุงขึ้นมาถึงปากถุงทั้งซ้ายและขาว ดึงถุงพลาสติกออกโดยระวังอย่าให้ดินแตก กลบดินที่เหลือลงในหลุม กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น คลุมดินด้วยฟางข้าว หรือหญ้าแห้ง รดน้ำให้ชุ่ม
การใส่ปุ๋ยกล้วยหอม
ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 หรือ 15-15-15 อัตรา 1 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี แบ่งใส่ 4 ครั้งๆ ละ 250 กรัม ดังนี้
- ครั้งที่ 1 ใส่หลังปลูก 1 สัปดาห์ ใช้สูตร 15-15-15
- ครั้งที่ 2 ใส่หลังจากครั้งที่ 1 ประมาณ 3 เดือน ใช้สุตร 15-15-15
- ครั้งที่ 3 ใส่หลังจากครั้งที่ 2 ประมาณ 3 เดือน ใช้สุตร 15-15-15
- ครั้งที่ 4 ใส่หลังจากครั้งที่ 3 ประมาณ 2-3 เดือน ใช้สูตร 13-13-21
การแต่งหน่อ
หลังปลูก 3-4 เดือน จะมีหน่อขึ้นร่อบๆ โคน ตัดไปเรื่อยๆ หลังปลูก 6 เดือน เลือกไว้หน่อทดแทน 1-2 หน่อ ให้หน่อที่ 1 และหน่อที่ 2 มีอายุห่างกัน 4 เดือน เพื่อให้มีผลผลิตเก็บเกี่ยวได้ต่อเนื่อง
การตัดแต่งใบ
เลือกตัดใบแก่ ใบที่เป็นโรคหรือถูกทำลายออก ไม่ควารตัดจนเหลือใบน้อยกว่า 7-12 ใบ เพราะใบใช้ปรุงอาหารเพิ่มความเจริญเติบโตของผลกล้วย
การตัดปลี
ตัดปลีทิ้งเมื่อเห็นหวีสุดท้าย หากทิ้งไว้นาน ทำให้ผลของหวีอื่นๆ มีขนาดเล็กแกรน
การห่อเครือ
ผลกล้วยมีสีสวยสม่ำเสมอ ไม่มีแผลที่เกิดจากแมลงและโรคทำลาย การเสียดสีภายนอก เมื่อกล้วยสุก ผลมีสีสวยน่าบริโภคกว่ากล้วยที่ไม่คลุมถุง
วัสดุที่ใช้ : ถุงพลาสติก/โพลีเอททิลีน กระดาษ ถุงปุ๋ย นิยมห่อเครือหลังตัดปลี
การค้ำเครือ : ป้องกันลำต้นหักล้ม เครื่องกล้วยมีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก
กล้วยหอมทอง
การเก็บเกี่ยวกล้วยหอม
ความอ่อนแก่ของกล้วย อาจดูจากลักษณะผล เช่น ขนาดผล เหลี่ยมกล้วย หรือนับจากอายุวันแทงปลี หรือวันตัดปลี ระยะเก็บเกี่ยวกล้วยขึ้นกับระยะเวลาในการขนส่ง กล้วยหอมเก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 90 วันหลังการตัดปลี นานกว่านี้ ผลกล้วยอาจแตก สุกคาต้น (กล้วยสุกลม) รสชาติไม่อร่อย สีของผิวกระด้างไม่นวลสวยเหมือนที่นำไปบ่ม หากขนส่งไปขายไกลๆ สามารถตัดกล้วยที่ความแก่ประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์
การแยกผลผลิต ดูลักษณะ ขนาดผล การเรียงตัวของหวี และการเกิดโรค/แมลง การชำแหละหวีและการเช็คสีเนื้อ ตัดหวีออกจากก้านเครือกล้วย ใช้มีดปาดผลของกล้วยลูกใดลูกหนึ่งเพื่อดูสีเนื้อ เนื้อกล้วยที่สุกได้ประมาณ 75% จึงจะสามารถส่งออกได้ เนื้อกล้วยที่มีสีขาวหรือเหลืองเกินไปทำการคัดออก
การตัดแต่งหวีกล้วย สะดวกในการทำความสะอาดและสวยงาม การทำความสะอาดสิ่งสกปรกที่ติดมากับกล้วย
สามารถติดตามความรู้ ข่าวสาร การเกษตรและความรู้เกี่ยวกับเรื่องกล้วย ได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.hort.ezathai.org
ภาพประกอบ : www.flickr.com
2 Comments