กระท่อมเป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 15 – 20 เมตร พบในป่าดิบแถบเอเชียอาคเนย์ เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และ มาเลเซีย ในประเทศไทยพบมากในภาคใต้ และภาคกลาง ซึ่งทุกส่วนของพืชกระท่อมให้สาร Alkaloid ของ Mitragynine วิธีใช้คือ ลอกก้านใบแล้วเคี้ยวใบกลืนหรือตากแห้งแล้วชงน้ำดื่ม ซึ่งการกินใบกระท่อมจะทำให้อารมณ์ดี คึกคัก ทำงานกลางแดดได้ดี แต่จะกลัวเวลาครึ้มฟ้าครึ้มฝน การกินเป็นระยะเวลานานๆ จะทำให้หน้าติดสีดำคล้ำ โดยเฉพาะโหนกแก้ม เมื่อเสพจนติดจะต้องเพิ่มปริมาณใบกระท่อมจากวันละ 1 ใบจนกระทั่งเป็น 30 – 50 ใบขึ้นไป ผู้เสพจะมีอาการท้องผูก อุจจาระเขียวแข็งเหมือนมูลแพะ บางรายมีอาการหูแว่ว ประสาทหลอนได้ อาการเสพติดจะทำให้หงุดหงิดปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง อ่อนเพลีย การแพร่ระบาด ในประเทศไทยมีการเสพใบกระท่อมตามชนบทที่อยู่ห่างไกลส่วนใหญ่ในภาคใต้และภาคกลาง ส่วนใหญ่ของผู้เสพคือชาวสวน และชาวนา สารเคมีที่มีอยู่ในใบกระท่อมมีฤทธิ์เหมือน แอมเฟทามีน
การออกฤทธิ์ของกระท่อม
- การกินใบกระท่อมทำให้อารมณ์ดี คึกคัก ทำงานกลางแดดได้ดี แต่จะกลัวเวลาครึ้มฟ้าครึ้มฝนและมีอาการหนาวสั่น
- การกินเป็นระยะเวลานานๆ จะทำให้หน้าสีดำคล้ำ โดยเฉพาะโหนกแก้ม
- เมื่อเสพจนติด จะต้องเพิ่มปริมาณใบกระท่อม จากวันละ 1 ใบ จนกระทั่งเป็น30 – 50 ใบ ขึ้นไป ผู้เสพจะมีอาการท้องผูก อุจจาระเขียวแข็งเหมือนมูลแพะบางรายมีอาการหูแว่ว ประสาทหลอนได้ เสพหนึ่งครั้งจะออกฤทธิ์นาน 3 – 4 ชั่วโมง พอหมดฤทธิ์ก็ต้องเสพอีก
- อาการเสพติดจะทำให้หงุดหงิดปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง อ่อนเพลีย
- คนที่ไม่เคยเสพมาก่อนจะมีอาการมึนงง วิงเวียนศีรษะ คอแห้งคลื่นไส้และอาเจียน
อันตรายและพิษของสาร
เกิดอาการเสพติด ถ้าไม่เสพจะมีอารมณ์หงุดหงิดโกรธง่าย ก้าวร้าวและมีพฤติกรรมรุนแรง
1. มีอารมณ์ซึมเศร้าเบื่อหน่ายชีวิต
2. ร่างกายอ่อนเพลียไม่อยากทำงานใดๆ ทั้งสิ้น
3. ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ
4. เบื่ออาหาร และนอนไม่หลับ
5. ผิวหนังไหม้เกรียมเพราะถูกแดดจัดเป็นเวลานานๆ มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งของผิวหนัง
สามารถติดตามความรู้ ข่าวสาร การเกษตรและความรู้เกี่ยวกับการปลูกพืช พรบ.พืชกระท่อม เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
การแปรรูปของสะเดาเทียม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http:// www.pmnidat.go.th แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( Monday, 08 September 2008 )
https://www.flickr.com
One Comment