การเลี้ยงกบ

ลักษณะเพศของกบ สามารถสังเกตได้จากลักษณะภายนอก

กบเพศผู้     จะพบกล่องเสียงอยู่ใต้คางทั้งสองข้าง สังเกตใต้คางจะเป็นจุดดําๆ โดยรอบ
กบเพศเมีย จะไม่มีกล่องเสียงอยู่ใต้คาง ตามปกติแล้วกบเพศเมียจะโตกว่ากบเพศผู้และ มีความกว้างของลําตัวมากกว่ากบเพศผู้ใต้คางจะขาวไม่มีจุดดํา

ลักษณะกบที่พร้อมผสมพันธ์ุ

เมื่อกบโตเต็มวัยจะเริ่มผสมพันธ์ุกันได้อายุตั้งแต่6เดือนขึ้นไปจะสังเกตเห็นรอยย่นของกล่องเสียงเป็นสีเทาดําคล้ํา ใต้คางทั้งสองข้างของกบเพศผู้เพื่อใช้ในการขยายเสียงร้องเรียกกบเพศเมีย นอกจากนั้นฤดูผสมพันธ์ุจะพบแถบปุ่มสีน้ําตาลทางด้านในของผิวหัวแม่มือของกบเพศผู้ทั้งสองข้าง เพื่อยึดเกาะตัวเมียในเวลาผสมพันธ์ุ
กบเพศเมีย  เมื่อพร้อมที่จะผสมพันธ์ุ ใต้ท้องของกบเพศเมียจะมองเห็นเม็ดดํา ๆ เป็นสาย
และข้างลําตัวจะมีลักษณะสากมือคล้ายเอามือจับกระดาษทราย
กบเพศผู้  ให้เอานิ้วมือของเราสองนิ้ว แหย่เข้าตรงกลางสองขาหน้า ถ้ากบกอดมือเราได้แสดงว่ากบเพศผู้พร้อมที่จะผสมพันธ์ุ

การเลี้ยงกบ
การเลี้ยงกบในกระชัง

ขั้นตอน/วิธีทํา

การเตรียมบ่อเพาะเราควรทําบ่อไว้สามบ่อ เพื่อแยกพ่อพันธ์ุและแม่พันธ์ุออกจากกัน และเตรียมอีกบ่อสําหรับใช้ผสมพันธ์ุ เตรียมบ่อเพาะด้วยการล้างอ่างให้สะอาด แล้วตากอ่างให้แห้ง ช่วงเย็นก่อนมืดให้เอาน้ําเติมลงไปในอ่าง ให้น้ําสูงประมาณ 10-15 เซนติเมตร รอให้ฝนตก กบจะร้อง ให้จับกบตัวผู้และตัวเมียลงบ่อ หรือถ้าทํานอกฤดูให้ใช้น้ําแข็งละลายน้ําสาดให้ทั่วอ่าง อ่างจะเย็นกบก็จะออกไข่ สังเกตเมื่อกบออกไข่ให้จับพ่อพันธ์ุแม่พันธ์ุออก ในช่วงระยะแรกไข่จะจมต่อมาไข่จะลอยขึ้น
แสงเป็นปัจจัยสําคัญอีกประการหนึ่ง ที่มีผลต่อการฟักไข่ของกบ ถ้าแสงแดดไม่เพียงพอ หรือแสงแดดส่องไม่ถึงไข่กบจะไม่ฟักออกมาเป็นตัวถ้าแสงแดดเพียงพอไข่กบจะฟักออกมาเป็นตัวไข่กบจะฟักตัวประมาณ18-36 ชั่งโมง ก็จะเป็นตัวลูกอ๊อด ลูกกบฟักตัวออกใหม่ ยังไม่กินอาหาร เนื่องจากมีอาหารสะสมอยู่ที่บริเวณท้อง สามารถอยู่ได้3-5 วัน
ลูกอ๊อดจะเริ่มกินอาหารเมื่ออายุได้3 วันขึ้นไป โดยการให้อาหารสําเร็จรูปที่เป็นอาหารปลาดุกเล็กพิเศษ เมื่อลูกอ๊อดอายุได้4 สัปดาห์ – 1 เดือนจะกลายเป็นลูกกบ คือ ในระยะแรกลูกอ๊อดจะมีเฉพาะหางและต่อมาอีก 1 สัปดาห์จะมีขาหลังสองขา เมื่อสองขาหลังสมบูรณ์เต็มที่ สองขาหน้าก็เริ่มโผล่ออกมาและหางค่อยๆ หด เมื่อสองขาหน้าสมบูรณ์เต็มที่ หางจะหดหมดไปในระยะ 1 เดือน
อย่างไรก็ตาม ลูกอ๊อดจะหมดหางไม่พร้อมกัน จึงเป็นอันตรายต่อลูกกบวัยอ่อน เพราะลูกกบยังอ่อนแอควรหากระดานหรือไม้ไผ่มาทําเป็นแพเพื่อให้ลูกกบที่หางหมดแล้วได้ขึ้นอยู่บนแพ แล้วหาภาชนะเพื่อใส่อาหารให้ลูกกบกิน ถ้าปล่อยให้ลูกกบลอยน้ําอยู่ ลูกกบจะถูกลูกอ๊อดกัดกิน ซึ่งเป็นช่วงที่อันตรายมากเมื่อลูกอ๊อดหางหดหมดแล้วจึงย้ายไปเลี้ยงในบ่อต่างหาก หรือจะเลี้ยงในบ่อเดิมไปก่อนก็ได้ในช่วงระยะนี้ควรคัดเลือกขนาดของลูกกบย้ายไปเลี้ยงบ่ออื่นๆ เพราะตัวใหญ่จะกินตัวเล็กทําให้ตัวเล็กตายหรือไม่ก็ตายทั้งคู่ ทั้งตัวที่ถูกกินและตัวที่กินตัวอื่น เพราะกลืนไปไม่หมดจะทําให้ตาย การนําลูกกบออกไปเลี้ยงมีวิธีเลี้ยงได้หลายวิธีเช่น บ่อดิน บ่อซีเมนต์กระชัง การเลี้ยงในกระชังจะสะดวกสบายกว่า เพราะประหยัดค่าใช้จ่าย ลงทุนน้อยและไม่ต้องถ่ายเทน้ําขนาดความหนาแน่นของกบ 80-100 ตัว ต่อหนึ่งตารางเมตร

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนกลุ่มอีโต้น้อย จังหวัดบุรีรัมย์
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment