การเลี้ยงกุ้งฝอย สัตว์น้ำจืดขนาดเล็ก มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ทั้งโปรตีนและแคลเซียม 

การเลี้ยงกุ้งฝอยในบ่อซีเมนต์

กุ้งฝอย เป็นสัตว์น้ำจืดขนาดเล็ก สามารถพบได้ทั่วไปในภูมิภาคของไทย และเป็นที่นิยมบริโภคหรือกินกันทั่วไป เพราะนำมาประกอบเป็นอาหารเช่น กุ้งเต้น ทอดมันกุ้ง กุ้งฝอยทอด โดยกุ้งฝอยมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ทั้งโปรตีนและแคลเซียม

ในปัจจุบันนี้กุ้งฝอยเริ่มลดน้อยลง เนื่องจากการเสื่อมโทรม และความไม่สมบูรณ์ของแหล่งน้ำตามธรรมชาติ หรือบางครั้งก็มีการใช้กุ้งฝอยเป็นอาหารเลี้ยงอนุบาลลูกปลาเศรษฐกิจ เช่น ปลาบู่ ปลาช่อน ปลากราย และปลาสวยงาม จึงทำให้เกิดความไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดที่มีแนวโน้มสูงมากขึ้นจึงทำให้หลายๆคน สนใจทำ การเกษตร หรือ การประมง ชนิดนี้ นั้นคือ เลี้ยงกุ้งฝอยในบ่อซีเมนต์

กุ้งฝอย
กุ้งฝอย สัตว์น้ำจืดขนาดเล็ก นิยมนำมาประกอบเป็นอาหาร

ขั้นตอนการเลี้ยงกุ้งฝอย

  1. เริ่มต้นจากการรวบรวมกุ้งเพศเมียจากแหล่งน้ำธรรมชาติ จำนวนประมาณ 80-100 ตัว นำมาพักไว้ในกระชังอย่างน้อย 1 คืน
  2. คัดเลือกเฉพาะกุ้งเพศเมียที่มีไข่แก่ มองเห็นตาของลูกกุ้งในท้อง เพาะฟักในตะแกรงที่แขวนไว้ในกระชังผ้า ขนาด 1x1x1 เมตร ในบ่อซีเมนต์หรือบ่อดิน
  3. ให้อาหารสำเร็จรูปที่มีโปรตีน 33% ให้อาหารประมาณ 5% ของน้ำหนักตัว แบ่งให้ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ประมาณ 3-4 วันไข่จะฟักออกมาเป็นตัว
  4. แยกแม่กุ้งออกจากกระชัง แล้วคัดลูกกุ้งที่มีขนาดเดียวกัน เพื่อสะดวกในการจัดการเพาะเลี้ยง
  5. นำลูกกุ้งที่ได้ไปอนุบาลในกระชังผ้าโอล่อนแก้ว ปริมาณ 50,000 ตัว ในบ่อขนาด 1x1x1 เมตร สัปดาห์แรก ให้ไข่แดงต้มสุกเป็นอาหาร
  6. สัปดาห์ที่ 2-4 ใช้ไรน้ำจืดขนาดเล็กเป็นอาหาร จากนั้นจึงให้อาหารสำเร็จรูปชนิดผง เป็นอาหารที่มีโปรตีน 40% ให้อาหารในปริมาณ 10% ของน้ำหนักตัว

ระยะนี้ต้องระมัดระวังตาข่ายไม่ให้อุดตัน ควรใช้แปรงขนาดเล็กขนอ่อนทำความสะอาดบ่อยครั้ง ใช้เวลาอนุบาลเป็นเวลา 1 เดือน จึงนำไปเลี้ยงในกระชังหรือบ่อซีเมนต์ได้

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http:// cddata.cdd.go.th
https://www.flickr.com/

Add a Comment