การเวก ดอกคล้ายกระดังงาจีน ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกตลอดทั้งปี

การเวก

ชื่ออื่นๆ : การเวก (ภาคกลาง), กระดังงัว กระดังงาป่า (ราชบุรี), กระดังงาเถา (ภาคใต้), หนามควายนอน (ชลบุรี), นมวัว

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Climbingllang-llang , Gara-Wek

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artabotrys siamensis Miq.

ชื่อวงศ์ANNONACEAE

ลักษณะของการเวก

ต้น  เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งที่มีขนาดใหญ่ ลำต้นกิ่งก้านมีขนทอดเลื้อยไปไกล 5 – 10 เมตร ยอดอ่อนสีเขียว ไม่มีขน

ใบ ใบรูปไข่กลับ กว้าง 4 – 5 เซนติเมตร ยาว 13 – 15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน แผ่นใบบางและเหนียวสีเขียวเข้ม
เส้นกลางใบมีขนทั้งด้านบนและด้านล่าง

ดอก ดอกเดี่ยวหรือเป็นกระจุก มี 1 – 3 ดอก ออกตามซอกใบกลีบเลี้ยงสีเขียวรูปไข่ ปลายกระดกขึ้น กลีบดอกสีเขียว มี 6 กลีบ ไม่เชื่อมติดกัน รูปรีปลายแหลม เรียงสลับกัน 2 ชั้น ๆ ละ 3 กลีบ กลีบดอกชั้นนอกเล็กกว่ากลีบชั้นใน เมื่อบานเต็มที่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอม ดอกคล้ายกระดังงาจีน ต่างกันที่ขนาดเล็กกว่า ออกดอกตลอดปี แต่ดอกดกช่วงเดือนมีนาคม

ผล  ผลเป็นกลุ่ม มีผลย่อย 4 – 15 ผล รูปกลมรี

ต้นการเวก
ต้นการเวก ไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง แผ่นใบบางและเหนียวสีเขียวเข้ม

การขยายพันธุ์ของการเวก

ตอนกิ่ง, เพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่การเวกต้องการ

ประโยชน์ของการเวก

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

ดอกการเวก
ดอกการเวก กลีบดอกสีเขียว มี 6 กลีบ เมื่อบานเต็มที่จะเป็นสีเหลือง

สรรพคุณทางยาการเวกของการเวก

ใบการเวก ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
ดอกการเวก ปรุงเป็นยาหอม เมื่อลนไฟกลิ่นหอมรุนแรงยิ่งขึ้น แก้ลมวิงเวียน

คุณค่าทางโภชนาการของการเวก

การแปรรูปของการเวก

ดอกใช้ทำบุหงาอบร่ำและน้ำหอม หรือทำน้ำปรุง น้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากดอกการเวกนั้นมีราคาสูงมาก ใช้เป็นหัวเชื้อ และส่วนผสมในการทำน้ำปรุง และน้ำหอมชนิดต่างๆได้

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11863&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment