กาสามปีก เนื้อไม้ ใช้ในงานก่อสร้าง

กาสามปีก

ชื่ออื่นๆ : กาจับหลัก ตีนนกผู้ มะยางห้าชั้น (ภาคเหนือ), กาสามซีก ตีนกา (ภาคกลาง), ตีนนก สมอตีนเป็ด สมอหวอง (ภาคตะวันออก) , ไม้เรียง(เมี่ยน), ตุ๊ดอางแลง(ขมุ)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Kaa Saampeek

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vitex peduncularis Wall. ex Schauer

ชื่อวงศ์ : Lamiaceae

ลักษณะของกาสามปีก

ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 5-15 ม.  เปลือกแตกเป็นร่อง หรือสะเก็ดสีเทา สีน้ำตาลเข้มหรือดำ เปลือกในสีเหลือง

ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ เรียงตรงข้าม มีใบย่อย 3 ใบ ก้านใบเรียว ด้านบนเรียบหรือร่องตื้น มีขอบเป็นสันชัดเจน ผิวเรียบ ใบย่อยรูปขอบขนาน ปลายและโคนเรียวแหลม

ดอก ดอกช่อออกตามง่ามใบ เป็นช่อเดี่ยว ๆ หรือเป็นคู่ ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ กลีบดอกสีขาว หรือชมพูอ่อนและเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาวนวลเมื่อดอกแก่ ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์

เมล็ด เมล็ดเมล็ดแข็งมาก

กาสามปีก
กาสามปีก ใบเรียงตรงข้าม มีใบย่อย 3 ใบ

การขยายพันธุ์ของกาสามปีก

ใช้เมล็ด/ทำการเพาะเมล็ด ลงถุงแล้วสามารถนำไปปลูกได้เมื่อต้นโต

ธาตุอาหารหลักที่กาสามปีกต้องการ

ประโยชน์ของกาสามปีก

เนื้อไม้ ใช้ในงานก่อสร้างต่าง ๆ และใช้ในงานแกะสลักได้ดี

สรรพคุณทางยาของกาสามปีก

ใบ ตากแห้งแล้วใช้ต้มน้ำดื่มเหมือนชา มีรสชาติดี(เมี่ยน)
ปลือกต้น ต้มน้ำดื่มรักษาโรคนิ่ว(เมี่ยน)

ปากีสถานใช้ใบอ่อนกินเป็นผัก และกินผลสุก ส่วนในอินเดียใช้น้ำต้มจากใบและเปลือกเป็นยาลดไข้ น้ำคั้นจากใบเชื่อกันว่าเป็นสรรพคุณทางยา

คุณค่าทางโภชนาการของกาสามปีก

การแปรรูปของกาสามปีก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11555&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com/

Add a Comment