กำลังช้างเผือก
ชื่ออื่นๆ : โนรา, พญาช้างเผือก (แพร่), สะเลา,กำลังช้างสาร (เหนือ), กะลังจ่าง
ต้นกำเนิด : พบตั้งแต่อินเดีย จีน จนถึงมาเลเซีย ในประเทศไทยพบทุกภาค ตามป่าผลัดใบ ป่าดิบเขาและป่าชายหาด ตั้งแต่ระดับใกล้น้ำทะเลจนถึง 2,000 ม.
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hiptage benghalensis (Linn.) Kurz
ชื่อวงศ์ : MALPIGHIACEAE
ลักษณะของกำลังช้างเผือก
ต้น ไม้กึ่งพุ่มหรือไม้เถาขนาดใหญ่ เนื้อแข็ง
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-7 ซม. ยาว 5-15 ซม. โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ
ดอก ดอกสีขาวมีแต้มสีเหลืองที่ด้านใน กลิ่นหอมจางๆ ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 9-22 ซม. กลีบรองดอก 5 กลีบ มีกลีบหนึ่งจะมีต่อมนูน กลีบดอก 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน กลีบข้างจะพับกลับ เกสรผู้ 10 อัน มี 1 อัน ยาวเป็นพิเศษ ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน
ผล ผลเป็นผลแห้ง สีแดง มี 3 ปี เมื่อแก่ไม่แตก
การขยายพันธุ์ของกำลังช้างเผือก
ใช้กิ่ง/ลำต้น/ด้วยการปักชำ หรือเพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่กำลังช้างเผือกต้องการ
ประโยชน์ของกำลังช้างเผือก
นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากดอกมีกลิ่นหอม
สรรพคุณทางยาของกำลังช้างเผือก
- แก่น ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง
- เปลือก ตำพอกรักษาแผลสด
- ใบ แก้โรคผิวหนัง
- ราก ต้มน้ำดื่มช่วยบำรุงกำลัง และบำรุงเลือด(คนเมือง)
คุณค่าทางโภชนาการของกำลังช้างเผือก
การแปรรูปของกำลังช้างเผือก
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10511&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com