กำเบ้อต้น ไม้ดอกให้ดอกสวยงามคงทน

กำเบ้อต้น

ชื่ออื่นๆ : กำเบ้อต้น,กะบอ(ภาคเหนือ),ข่าม้ามืด(ตรัง)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Schizomussaenda dehiscens Craib

ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE

ลักษณะของกำเบ้อต้น

ไม้พุ่ม สูง 3-8 ม. กิ่งอ่อนมีขนสีเทา ใบเป็นใบเดี่ยวรูปรีแกมรูปไข่ กว้าง 3-6 ซม. ยาว 10-18 ซม. โคนสอบหรือมน ปลายใบเรียวแหลม ก้านใบยาว 0.8-1.5 ซม. มีหูใบรูปหอก ดอกสีเหลืองอ่อนแกมสีส้ม ออกเป็นช่อที่ปลายยอด กลีบรองดอก 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน กลีบหนึ่งสีขาวนวล ขยายใหญ่คล้ายใบ กว้าง 3-6.5 ซม. ยาว 8-15 ซม. กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก มนถึงเว้า เกสรผู้ 5 อัน อยู่ภายในหลอดดอก เกสรเมียปลายแยกเป็น 2 แฉก ผลรูปไข่กลับหรือรูปรี กว้าง 4-5 มม. ยาว 6-8 มม. เมื่อแก่แล้วแตก

พบกระจายในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามป่าดิบชื้นที่ระดับความสูง 400-800 ม. ออกดอกและติดผลช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน

ต้นกำเบ้อต้น
ต้นกำเบ้อต้น ไม้พุ่ม ใบเป็นใบเดี่ยวรูปรีแกมรูปไข่
ดอกกำเบ้อต้น
ดอกกำเบ้อต้น ดอกสีเหลืองอ่อนแกมส้ม

การขยายพันธุ์ของกำเบ้อต้น

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่กำเบ้อต้นต้องการ

ประโยชน์ของกำเบ้อต้น

ให้ดอกสวยงามคงทน ในอนาคตสามารถปรับปรุงพันธุ์เป็นไม้ประดับได้

สรรพคุณทางยาของกำเบ้อต้น

คุณค่าทางโภชนาการของกำเบ้อต้น

การแปรรูปของกำเบ้อต้น

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11129&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment