กำแพงเจ็ดชั้น
ชื่ออื่นๆ : ตะลุ่มนก (ราชบุรี) ตาไก้ (พิษณุโลก) น้ำนอง มะต่อมไก่ (เหนือ) หลุมนก (ใต้) ขอบกระด้ง, พรองนก (อ่างทอง) ขาวไก่, เครือตากวาง, ตากวาง, ตาไก่ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) กระดุมนก (ประจวบคีรีขันธ์)
ต้นกำเนิด : เขตร้อนชื้นของทวีปเอเชีย
ชื่อสามัญ : Chinese salacia
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Salacia chinensis L.
ชื่อวงศ์ : CELASTRACEAE
ลักษณะของกำแพงเจ็ดชั้น
ต้น ไม้พุ่มรอเลื้อย สูง 2-6 เมตร
ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี รูปไข่หรือรูปไข่กลับ กว้าง 2-7 ซม. ยาว 4-12 ซม. ขอบใบหยัก ห่างๆ
ดอก สีเขียวอมเหลือง ออกเป็นช่อสั้นๆ ที่ซอกใบ ขนาดดอก บานเต็มที่ กว้าง 8 มม. กลีบรองดอกขนาดเล็กมาก โคนเชื่อมกัน กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่ เกสรผู้ 3 อัน รังไข่ขนาดเล็กรูปสามเหลี่ยม
ผล ทรงกลมหรือรี เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 ซม. ผลสุกสีแดง หรือแดงอมส้ม มี 1 เมล็ด
การขยายพันธุ์ของกำแพงเจ็ดชั้น
การใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่กำแพงเจ็ดชั้นต้องการ
ประโยชน์ของกำแพงเจ็ดชั้น
กำแพงเจ็ดชั้นเป็นพืชที่นำไปใช้เป็นพืชสมุนไพรอย่างแพร่หลาย โดยทั่วไปใช้
- ต้น ต้มน้ำดื่ม หรือดองสุราแก้ปวดเมื่อย บำรุงโลหิต ฟอกโลหิต แก้โลหิตเป็นพิษหรือเป็นส่วนผสมของยาระบาย รักษาโรคตับอักเสบ แก้หืด แก้เบาหวาน
- ราก ใช้ต้มหรือดองสุราดื่ม ขับโลหิตระดู บำรุงโลหิต แก้ลมอัมพฤกษ์ รักษาโรคตา บำรุงน้ำเหลือง ใบ แก้มุตกิด ขับระดู
- ดอก แก้บิดมูกเลือด
- แก่นและราก ต้มน้ำดื่มเป็นยาระบาย แก้เส้นเอ็นอักเสบ
- ทางจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ เนื้อไม้ ต้มน้ำดื่ม แก้โรคไต แก้ท้องผูก ยาระบาย แก้ลมตีขึ้น
- ลำต้นผสมกับยาอื่นใช้แก้ปวดเมื่อย ยาระบาย แก้ริดสีดวงทวาร ขับปัสสาวะ
- ทางจังหวัดนครราชสีมาใช้ ลำต้น บำรุงโลหิต โดยใช้ลำต้นต้มน้ำดื่มวันละ 1-2 ช้อนชา ก่อนอาหารเช้า-เย็น ชาวกัมพูชาใช้ เถา ต้มน้ำดื่ม แก้โรคเบาหวาน
สรรพคุณทางยาของกำแพงเจ็ดชั้น
ส่วนที่ใช้ : เนื้อไม้ ลำต้น ราก
- ลำต้น ต้มหรือดองสุราดื่ม บำรุงโลหิต ฟอกโลหิต แก้ประดง แก้ปวดเมื่อย ฟอกและขับโลหิตระดู เป็นยาระบาย ราก
- เนื้อไม้ ต้มน้ำดื่ม แก้โรคไต แก้ท้องผูก ยาระบาย แก้ลมตีขึ้น
- ลำต้น รสเมาเบื่อฝาดสุขุม
-บำรุงโลหิต ต้มน้ำดื่มวันละ 1-2 ช้อนชา ก่อนอาหารเช้า-เย็น
-แก้ปวดเมื่อย (นำลำต้นของสมุนไพรต่างๆ ได้แก่ ตาไก่ ตากวง อ้อยดำ ขมิ้นเกลือ ดูกหิน ตับเต่า มาต้มน้ำดื่ม ) -ขับปัสสาวะ (เข้ายากับ แก่นตาไก้ แก่นตากวง แก่นดูกไส แก่นตานกกด)
-บรรเทาอาการริดสีดวงทวาร (เข้ายากับ ว่านงวงช้าง แก่นกระถิน ปูนขาว แล้วต้ม)
-ยาระบาย (เข้ายากับ ยาปะดง ตากวง ดูกไส คอแลน พาสาน) - ราก รสเมาเบื่อฝาด ต้มหรือดองสุรา ขับโลหิตระดู ดับพิษร้อนของโลหิต
-แก้พิษงู นำรากกำแพงเจ็ดชั้นตำผสมกับน้ำมะนาว ใช้กินและพอกทาแผลที่ถูกงูกัด - ใบหรือเถา ใช้รักษาเบาหวาน โดยนำใบกำแพงเจ็ดชั้น ผสมกับใบแพงพวยฝรั่ง อย่างละเท่าๆ กัน บดพอหยาบรวมกัน จำนวน 1 ช้อนชา ชงกับน้ำร้อน 1 แก้ว ดื่มตอนเช้า เป็นเวลา 1 เดือน
คุณค่าทางโภชนาการของกำแพงเจ็ดชั้น
–
การแปรรูปของกำแพงเจ็ดชั้น
นำเนื้อไม้ไปตากแห้ง ใช้ต้มน้ำดื่ม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9238&SystemType=BEDO
www.qsbg.org
www.pharmacy.mahidol.ac.th
www.flickr.com
2 Comments