กุหลาบพันปี เป็นไม้ดอกที่มีความงาม จนได้รับชื่อว่าเป็น “ราชินีแห่งดอกไม้”

กุหลาบพันปี

ชื่ออื่นๆ : กุหลาบพันปี

ต้นกำเนิด : ขึ้นตามไหลเขาบนที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,800 เมตรขึ้นไป จีนตอนใต้ อินเดีย ศรีลังกา เนปาล และพม่า แหล่งที่พบ จ.เชียงใหม่

ชื่อสามัญ : กุหลาบพันปี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhododendron arboreum subsp

ชื่อวงศ์ : ERICACEAE

ลักษณะของกุหลาบพันปี

ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 2-12 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นและกิ่งก้านมักคดงอเพราะอิทธิพลของแรงลม เปลือกตะปุ่มตะป่ำ

ใบ เรียงเวียนสลับใกล้ๆ กันเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง 5-8 ใบ ใบรูปใบหอกกว้าง หรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้าง 2-3 ซม. ยาว 7-14 ซม. ปลายแหลม โคนสอบหรือมน ขอบเรียบงอลง แผ่นใบหนามาก ด้านบนเกลี้ยงสีเขียวสด ด้านล่างมีเกล็ดสีเทาอมน้ำตาลและมีขนหนาแน่น เส้นแขนงใบข้างละ 12-14 เส้น

ดอก ช่อดอกสั้น ออกตามปลายกิ่ง 4-12 ดอก ดอกบานเต็มที่กว้าง 3.5-4.5 ซม. กลีบดอกสีแดงเลือดนก ติดกันคล้ายรูประฆัง ยาว 1.5-2 ซม. ปลายแยกเป็น 5-6 กลีบ กลม กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 1.3-1.5 ซม. เกสรเพศผู้ 10 อัน ยาวไม่เท่ากัน ก้านชูอับเรณูสีขาว โคนก้านสีม่วงอมแดง รังไข่มีขนสีขาวหนาแน่น ออกดอกเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์

ฝักหรือผล รูปทรงกระบอก กว้าง 6-7 มม. ยาว 1.3-1.6 ซม. ผลแก่แตกเป็น 7-8 เสี่ยง

เมล็ด เมล็ดแบน เล็กมาก มีปีกบางใสล้อมรอบ มีเมล็ดจำนวนมาก

ต้นกุหลาบพันปี
ต้นกุหลาบพันปี ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ กลีบดอกสีแดงเลือดนก

การขยายพันธุ์ของกุหลาบพันปี

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/ใช้เมล็ดโปรยหว่านตามแหล่งธรรมชาติ

ธาตุอาหารหลักที่กุหลาบพันปีต้องการ

ประโยชน์ของกุหลาบพันปี

กุหลาบนับว่าเป็นไม้ดอกที่มีความงามยากที่ไม้ดอกอื่นจะเทียบเท่า จนได้รับชื่อว่าเป็น “ราชินีแห่งดอกไม้” (Queen of flower) กุหลาบมีมานานประมาณ 30 ล้านปีมาแล้ว มีทั้งหมดประมาณ200 สปีชี่ส์ พันธุ์ดั้งเดิม(wild species) มีทั้งชนิดกลีบดอกชั้นเดียวและดอกซ้อนส่วนกุหลาบที่ปลูกกันอยู่ทั่วไปในปัจจุบันเป็นกุหลาบที่ผ่านการวิวัฒนาการมานานนับร้อยๆ ปีและทั้งหมดเป็นกุหลาบลูกผสมซึ่งได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างกุหลาบ 1-8 สปีชี่ส์ และส่วนมากมีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย

สรรพคุณทางยาของกุหลาบพันปี

คุณค่าทางโภชนาการของกุหลาบพันปี

การแปรรูปของกุหลาบพันปี

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10961&SystemType=BEDO
www.flickr.com

One Comment

Add a Comment