ก้านเหลือง
ชื่ออื่นๆ : ก้านเหลือง, กระทุ่มคลอง
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : ก้านเหลือง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nauclea orientalis (L.) L.
ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE
ลักษณะของก้านเหลือง
ต้น เป็นไม้ต้น สูง 15-25 ม.
ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี กว้าง 10-14 ซม. ยาว 12-23 ซม. ผิวใบเกลี้ยง เนื้อใบหนาคล้ายหนัง
ดอก ช่อดอกแบบกระจุกแน่น ทรงกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 ซม. ออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง ดอกเป็นหลอด สีเหลือง มีกลิ่นหอม
ผล ผลรูปไข่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8 มม. ออกดอกเดือน พ.ค.-ก.ค.
ในอดีตเป็นต้นไม้ที่ขึ้นอยู่หนาแน่นเป็นธรรมชาติในบริเวณพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำ น้ำตก และชุมชนแห่งหนึ่งในเขตอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ชื่อเรียกชุมชนและ ชื่อเรียกน้ำตกแห่งนั้น มีชื่อเดียวกับชื่อของต้นไม้ กล่าวคือ ชื่อหมู่บ้านวังก้านเหลือง และน้ำตกวังก้านเหลือง ซึ่งยังคงใช้ชื่อดังกล่าวจนถึงปัจจุบัน
การขยายพันธุ์ของก้านเหลือง
การเพาะเมล็ด
ขึ้นตามพื้นที่ราบต่ำหรือใกล้ลำธาร ชอบแสงแดดรำไร
ธาตุอาหารหลักที่ก้านเหลืองต้องการ
ประโยชน์ของก้านเหลือง
- ผลใช้รับประทานได้
- ที่โคนก้านใบแต่ละใบจะมีหูใบเป็นแผ่นเล็กๆ ติดอยู่ 1 คู่ ใบเหนียวทนทาน ในอดีตเคยมีการนำไปใช้ในการมุงหลังคาบ้านเรือน
- เนื้อไม้ละเอียดสีเหลืองสด เป็นไม้ยืนต้นที่มีคุณภาพดี สีสวย ไปใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างบ้านเรือนและจัดทำเครื่องตกแต่งบ้าน
สรรพคุณทางยาของก้านเหลือง
คุณค่าทางโภชนาการของก้านเหลือง
การแปรรูปของก้านเหลือง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10508&SystemType=BEDO
www.flickr.com