ก้ามปู ต้นจามจุรี หรือต้นฉำฉา ไม้ใหญ่โตเร็ว ดอกสีชมพูอ่อน
ชื่ออื่นๆ : ต้นจามจุรี หรือต้นฉำฉา
ต้นกำเนิด : ทวีปอเมริกาใต้
ชื่อสามัญ : Rain Tree, East Indian Walnut, Monkey Pod
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman Merr.
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE
ลักษณะของก้ามปู
ต้นก้ามปู เรียกอีกชื่อว่าต้นจามจุรี หรือต้นฉำฉา จัดอยู่ในพืชวงศ์เดียวกับพืชตระกูลถั่ว เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูง 10 – 20 เมตร แผ่พุ่มกว้างคล้ายร่ม เป็นแบบขนนกสองชั้นออกสลับ เปลือกต้นสีดำเป็นเกล็ดโตแข็งสีเขียวเข้ม
ใบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกคล้ายใบแค ปลายใบมนแกนกลางใบประกอบและก้านใบประกอบแยกแขนงตรงข้ามกัน บนแขนงมีใบย่อยรูปไข่หรือรูปรี หรือคล้ายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายใบมน ขอบใบเรียบ หลังใบเกลี้ยง
ดอก ออกดอกเป็นรวมเป็นกระจุก สีชมพูอ่อน โคนดอกสีขาว ออกตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง วงนอกช่อดอกมีขนาดเล็กกว่าดอกวงใน ดอกวงนอกมีก้านสั้น ดอกวงใยไม่มีก้าน ส่วนบนมีขนหนาแน่น ปลายหลอดกลีบดอกแยกเป็น 5 แฉก ออกดอกช่วงเดือนสิงหาคม-กุมภาพันธ์
ผล ผลเป็นฝักแบนยาว ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่สีน้ำตาล เนื้อในนิ่มสีดำ รสหวาน เมล็ดสีน้ำตาลเข้ม
การขยายพันธุ์ของก้ามปู
ใช้เมล็ด/เพาะเมล็ดครับ ก้ามปูจะมีฝัก ฝักแก่สีดำ ข้างในมีเมล็ด เพาะเหมือนเพาะเมล็ดต้นไม้ทั่วไป
ธาตุอาหารหลักที่ก้ามปูต้องการ
สามารถปลูกได้กับดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง
ประโยชน์ของก้ามปู
- ประโยชน์ด้านเนื้อไม้ ในปัจจุบันเนื้อไม้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมแกะสลักไม้ภาคเหนือ ซึ่งมีการดำเนินงานในรูปสหกรณ์หัตถกรรมไม้ วัตถุดิบ นอกจากไม้จามจุรีคือไม้สักมีราคาแพงและหายากทำให้ไม้จามจุรีจึงมีบทบาทในการทดแทนไม้สักได้มากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากไม้จามจุรี ราคาถูก สามารถหาได้ง่ายกว่าไม้สัก เนื้อไม้มีแก่นสีดำคล้ำสวยงาม เมื่อขัดตกแต่งจะขึ้นเงาแวววาว เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคทุกระดับทั่วไป เนื่องจากความชื้นในไม้จามจุรีมีมาก ทำให้เกิดปัญหาไม้แตกในระหว่างการแกะสลักหรือหลังจากเป็นผลิตภัณฑ์ วิธีแก้ไข คือ การอบไม้โดยค่อยๆ เพิ่มอุณหภูมิจนกระทั่งไม่มีความชื้นหรือใกล้เคียงกับบรรยากาศทั่วไป
- ต้นจามจุรี ต้นไม้ประจำจังหวัดลำพูน พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ วันที่ 9 พฤษภาคม 2537
- ใบและฝักมีคุณประโยชน์มาก สำหรับ วัว ควาย ซึ่งมักจะชอบกินใบเขียวและใบอ่อน ฝักจะมีเนื้อที่มีสีน้ำตาลกล่าวว่าถ้าเลี้ยงแม่วัวที่รีดนม อาจทำให้นมมีคุณภาพดีขึ้น ฝักแก่ราวเดือนมีนาคม สามารถเก็บรักษาไว้เลี้ยงวัวควายได้ในกรณีหาหญ้าฟางได้ยากหรือมีราคาแพง ส่วนผสมของฝักมีคูณค่าดีเท่ากับหญ้าแห้งในการใช้เลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้เนื้อในของฝักแก่ที่มีสีน้ำตาลยังสามารถใช้หมักเพื่อผลิตแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ปรากฏว่าฝัก 100 กิโลกรัม จะได้แอลกอฮอล์ราว 11.5 ลิตร และฝักนั้นมีผู้นำไปใส่น้ำต้มรับประทานแบบน้ำชา มีรสหวาน ประแล่มๆ
- ต้นก้ามปู สามารถปลูกไว้สำหรับเป็นปุ๋ยบำรุงดินได้อย่างดี ทางศูนย์ เรียนรู้ฯจึงได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกต้นก้ามปูสำหรับบำรุงต้นข้าวในนา โดย มีแปลงสาธิตให้กับผู้ที่สนใจศึกษา
สรรพคุณทางยาของก้ามปู
- เปลือกต้น รสฝาด สมานแผลในปาก คอ แก้โรคเหงือกบวม แก้ปวดฟัน แก้ริดสีดวงทวารหนัก แก้ท้องร่วง แก้โลหิตตกใน
- ใบ รสเย็นเมา ทำให้เย็น ดับพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน
- เมล็ด รสฝาดเมา แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน เรื้อน แก้เยื่อตาอักเสบ
วิธีและปริมาณที่ใช้
แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน โดยใช้เมล็ด 10-20 กรัม นำมาโขลกให้ละเอียด ผสมเหล้าโรงเล็กน้อย ใช้ทาและพอกบริเวณที่เป็นวันละ 2 เวลา
คุณค่าทางโภชนาการของก้ามปู
–
การแปรรูปของก้ามปู
- ปรับปรุงสภาพดินเลวให้ดีขึ้น เนื่องจากเป็นพืชตระกูลถั่วจึงมีคุณสมบัติในการปรับปรุงคุณภาพของดินให้ดีขึ้น ใบใช้ทำปุ๋ยหมักได้ โดนเฉลี่ยมีไนโตรเจนถึงร้อยละ 3.25
- คุณสมบัติทางด้านเคมี ต้นจามจุรีมีสารจำพวกแอลคาลอยด์ ซึ่งมีชื่อว่า พิธทิโคโลไบพบตามเปลือก ใบ เมล็ดและเนื้อไม้ แต่ที่ใบมีสารที่เป็นพิษอยู่มากเพราะประกอบด้วยแอลคาลอยด์ที่เป็นพิษอยู่มาก เพราะประกอบด้วยแอลคาลอยด์ที่เป็นน้ำมัน อนุพันธ์ที่สังเคราะห์ได้จะไปตกผลึกพิธทิโคโลไบ เป็นแอลคาลอยด์ที่มีพิษเป็นยาสลบซึ่งมีคุณสมบัติไปทำลายปลายประสาท
VDO เกี่ยวกับต้นข้ามปู เก็บใบขาย ไว้สำหรับทำปุ๋ย
เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับก้ามปู
References : www.bedo.or.th , www.job.anuban.ac.th , www.satitm.chula.ac.th
รูปภาพจาก : th.wikipedia.org
เรียบเรียงข้อมูลโดย : เกษตรตำบล.คอม
3 Comments