ขจร ดอกขจร ผักสลิดคาเลา ไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้ใหญ่ ช่อดอกสีเหลืองอมชมพูอ่อน

ขจร

ชื่ออื่นๆ : สลิด, ผักสลิดคาเลา, สลิดป่า, ผักสลิด, กะจอน, ขะจอน, ผักขิก,  ผักสลิดคา (เหนือ)

ต้นกำเนิด : พบขึ้นในป่าดิบแล้ง ป่าละเมาะ และมีการปลูกตามบ้านทั่วไป

ชื่อสามัญ : Cowslip creeper

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Telosma minor Craib.

ชื่อวงศ์ : ASCLEPIADACEAE

ลักษณะของขจร

ต้น เป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้ใหญ่หรือขึ้นตามร้านต้นไม้

ใบ ใบรูปร่างคล้ายหัวใจปลายเรียวแหลมยาว เหมือนใบต้นข้าวสาร ใบยาว 6-11 ซม. กว้าง 4-7.5 ซม. มีก้านใบยาว 1.2-2 ซม. ใบสีเขียวอมแดงเล็กน้อย

ดอก เป็นช่อกระจุกหรือเป็นพวงๆ คล้ายพวงอุบะ ดอกแข็งมีสีเขียวอมเหลือง ออกดอกตามซอกใบ ส่งกลิ่น หอมแรงกว่าดอกชำมะนาด หรือกลิ่นของใบเตยกลีบดอกสีเหลืองหรือเขียวอมเหลือง

ผล มีลักษณะกลมยาวคล้ายฝักนุ่นที่ยังเล็ก ผลแก่จะแตกออกได้ และมีเมล็ดใน ปลิวว่อนคล้ายนุ่นมีเมล็ดเกาะติดกับใยสีขาว

ต้นขจร
ต้นขจร ไม้เถาเลื้อย พาดไปตามต้นใม้ใหญ่

การขยายพันธุ์ของขจร

ใช้เมล็ด/ปักชำ เพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ขจรต้องการ

ประโยชน์ของขจร

การปรุงอาหาร ยอดอ่อน ดอก ผลอ่อน รับประทานสดหรือลวกให้สุกรับประทานร่วมกับน้ำพริก ดอกนำไปปรุง อาหาร เช่น ผัด แกงจืด แกงส้ม

สรรพคุณทางยาของขจร

  • ยอดอ่อน ดอก ลูกอ่อน บำรุงธาตุ บำรุงตับ ปอด แก้เสมหะเป็นพิษ
  • ราก ทำให้อาเจียน ถอนพิษเบื่อเมา
ดอกขจร
ดอกขจร ดอกแข็งมีสีเขียวอมเหลือง

คุณค่าทางโภชนาการของขจร

ยอดอ่อนและดอกขจรในปริมาณ 100 กรัม มีวิตามิน แร่ธาตุต่างๆ คือ

  • วิตามินเอ มากถึง 3,150 I.U.
  • วิตามินซี 45 มิลลิกรัม
  • แคลเซียม 70 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 90 มิลลิกรัม

การแปรรูปของขจร

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.bedo.or.th
https://th.wikipedia.org
https://www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment