ขนุนปาน เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง เยื่อหุ้มเมล็ดรสเปรี้ยวอมหวาน กินได้

ขนุนปาน

ชื่ออื่นๆ : ขนุนปาน, ขนุนป่า

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : ขนุนปาน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artocarpus rigidus

ชื่อวงศ์ : MORACEAE

ลักษณะของขนุนปาน

ลำต้น เป็นไม้ต้น สูงถึง 30 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มทรงสูง ถึงค่อนข้างกลม เปลือกต้นสีน้ำตาลแดงถึงเทาคล้ำ กิ่งอ่อนมีรอยแผลเป็นของหูใบรอบกิ่ง มีขนสีน้ำตาลปกคลุม

ต้นขนุนปาน
ต้นขนุนปาน เปลือกต้นสีน้ำตาลแดงถึงเทาคล้ำ

ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรีแกมรูไข่กลับกว้าง ปลายใบแหลม หรือมน ขอบใบเรียบ ยกเว้นต้นอ่อนที่ขอบใบเว้าลึกผิวใบมีขนปกคลุมทั้งสองด้าน ก้านใบยาว มีขนปกคลุกหนาแน่น

ใบขนุนปาน
ใบขนุนปาน แผ่นใบรูปรีแกมรูไข่กลับกว้าง ปลายใบแหลม

ดอก เล็ก แยกเพศ ออกอัดรวมกันแน่นบนช่อดอก ช่อดอกเพศผู้เป็นรูปทรงกระบอกแกมรูปไข่ ช่อดอกเพศเมียรูปทรงกลม

ผล เป็นผลรวม ค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 10-15 ซม. มีหนามยาวแหลม โดยรอบ เม็ดมีเยื่อสีเหลือง

ผลขนุนปาน
ผลขนุนปาน ผลกลม มีหนามยาวแหลม

การขยายพันธุ์ของขนุนปาน

การเพาะเมล็ด

ขึ้นในทุกสภาพพื้นดิน ชอบความชื้นพอสมควร และแสงแดดรำไร

ธาตุอาหารหลักที่ขนุนปานต้องการ

ประโยชน์ของขนุนปาน

  • ลายเนื้อไม้ที่สวยงามของ “ขนุนปาน” หรือ “ขนุนป่า” นำมาใช้ในการก่อสร้างต่างๆ โดยเฉพาะทำพื้นภายในบ้าน อาคาร ให้ความโดดเด่นทีเดียว
  • เยื่อหุ้มเมล็ดรสเปรี้ยวอมหวาน กินได้

สรรพคุณทางยาของขนุนปาน

คุณค่าทางโภชนาการของขนุนปาน

การแปรรูปของขนุนปาน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10671&SystemType=BEDO
ภาพประกอบ : www.flickr.com

Add a Comment