ขนุน ผลไม้เขตร้อน มีประโยชน์และสรรพคุณมากกว่าที่คิด

ขนุน ผลไม้เขตร้อน มีประโยชน์และสรรพคุณมากกว่าที่คิด

ชื่ออื่นๆ : ภาคอีสานเรียกบักมี่ ภาคเหนือเรียกบ่าหนุน สิบสองปันนาเรียกหมากมี่ หรือ หมากหนุน กาญจนบุรีเรียกกระนู ภาษาไทใหญ่เรียก ลาง 

ต้นกำเนิด : เอเชียใต้

ชื่อสามัญ : มะหนุน หมักหมี๊ หมากลาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artocarpus heterophyllus Lam.

ชื่อวงศ์ : MORACEAE

ชื่อภาษาอังกฤษ : Jack Fruit Tree

ขนุน ผลไม้มีประโยชน์และสรรพคุณมากกว่าที่คิด
ลูกขนุน

ลักษณะของขนุน

ต้น ขนาดใหญ่ สูง 15 – 30 เมตร ลำต้นและกิ่งเมื่อมีบาดแผลจะมีน้ำยางสีขาวข้นคล้ายน้ำนมไหล

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรี ขนาดกว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 10 – 15 เซนติเมตร ปลายใบทู่ ถึงแหลม โคนใบมน ผิวในด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบหนาผิวใบด้านล่างจะสากมือ

ดอก เป็นช่อแบบช่อเชิงสดแยกเพศอยู่รวมกัน ดอกเพศผู้เรียกว่า “ส่า” มักออกตามปลายกิ่ง ดอกเพศเมียจะออกตามกิ่งใหญ่และตามลำต้นยอดเกสรเพศเมีย เป็นหนามแหลม ส่วนของเนื้อที่รับประทานเจริญมาจากกลีบดอก ส่วนซังคือกลีบเลี้ยง

ผล เป็นผลรวมมีขนาดใหญ่ ให้ผลในช่วง มีนาคม-มิถุนายน

การขยายพันธุ์ของขนุน

ใช้เมล็ด/การเพาะเมล็ด ติดตา และทาบกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่ขนุนต้องการ

ประโยชน์ของขนุน

  • ผลอ่อนใช้ปรุงอาหารผลสุกเยื่อหุ้มเมล็ดมีรสหวาน เมล็ดปรุงอาหาร
  • เนื้อไม้ใช้ทำพื้นเรือนและสิ่งก่อสร้าง ครก สากกระเดื่อง หวี โทน รำมะนา ระนาด
  • รากและแก่นให้สีเหลือง ถึงเหลืองอมน้ำตาล ใช้ย้อมผ้าและแพรไหม
  • ใบเผาไฟกับซังข้าวโพดให้ดำเป็นถ่าน แล้วใส่รวมกับก้นกะลามะพร้าวขูด โรยรักษาบาดแผล
  • เมล็ดขนุน ต้มสุกใช้รับประทานเพื่อบำรุงร่างกาย เพราะมีคาร์โบไฮเดรตสูง นอกจากนี้ยังช่วยขับน้ำนมหลังคลอดได้อีกด้วย
ขนุน ผลไม้เขตร้อน มีประโยชน์และสรรพคุณมากกว่าที่คิด
ขนุน

สรรพคุณทางยาของขนุน

  • ผลอ่อนขนุน มีฤทธิ์เป็นยาฝาดสมาน ใช้แก้อาการท้องเสีย มีผู้นิยมนำผลอ่อนของขนุนไปใช้เป็นวัสดุในการแกงซึ่งให้รสชาติอร่อยไม่เบาเลยนะคะ
  • ผลขนุนสุก ใช้ในการรักษาโรคเกี่ยวกับทรวงอก และมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆด้วยค่ะ
  • ใบสด ใช้ในช่วยขับน้ำนม
  • ยางขนุน ใช้รักษาโรคซิฟิลิส และใช้ขับพยาธิ รักษาแผลบวมอักเสบ
  • รากขนุน ใช้ต้มกับน้ำแล้วนำน้ำที่ได้มาดื่มเพื่อรักษาอาการท้องเสีย
  • ราก รักษาโรคผิวหนัง แก้ท้องเสีย บำรุงโลหิต
  • รากนำมาปรุงเป็นยาแก้ท้องร่วง แก้ไข้
  • ใบ แก้ปวดหู รักษาแผลมีหนอง
  • เมล็ด บำรุงน้ำนมหลังคลอด แก้ปวดท้อง
  • แก่นไม้ ใช้บำรุงกำลัง บำรุงเลือด รักษากามโรค ระงับประสาทและโรคลมชักได้ดี และเนื่องจากในแก่นไม้ของขนุนจะมีสารที่เรียกว่า โมริน ซึ่งใช้ในการย้อมผ้าที่ให้สีเหลืองได้ดีอีกด้วยค่ะ
ขนุน ผลไม้เขตร้อน มีประโยชน์และสรรพคุณมากกว่าที่คิด
ต้นขนุน

คุณค่าทางโภชนาการของขนุน

ขนุน มีคุณค่าทางโภชนาการคือ ประกอบด้วย

  • โปรตีน 6.6 % ไขมัน
  • คาร์โบไฮเดรต 38.4 %
  • แร่ธาตุต่างๆ แคลเซียม เส้นใย ฟอสฟอรัส วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 ในเมล็ดขนุนจะมีสารคล้าย อะซีทิลคลอรีน (acetylcholine) ในแก่นต้นขนุนจะมีสารสีเหลือง ที่เรียกว่า โมริน (Morin)ซึ่งสามารถใช้ในการย้อมผ้าได้ดี

การแปรรูปของขนุน

การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอย่างขนุน เช่น ขนุนสุกอบกรอบ ขนุนกวน ขนุนแช่อิ่ม

เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับขนุน

References : www.bedo.or.th, www.forest.go.th

รูปภาพจาก : th.wikipedia.org, servingjoy.com, upload.wikimedia.org

เรียบเรียงข้อมูลโดย :  เกษตรตำบล.คอม

5 Comments

Add a Comment