ขมิ้น ขมิ้นแกง ไม้ล้มลุกมีเหง้าใต้ดิน เหง้าสีเหลืองส้ม มีกลิ่นเฉพาะ

ขมิ้น

ชื่ออื่นๆ : ขมิ้น (ทั่วไป) ขมิ้นแกง, ขมิ้นหยวก, ขี้มิ้น, ตายอ, สะยอ, หมิ้น (ภาคใต้) ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขมิ้นชัน

ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ : Turmaric

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa L.

ชื่อวงศ์ : Zingiberaceae

ลักษณะของขมิ้น

ต้น ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 30-90 ซม. เหง้าใต้ดินรูปไข่มีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกด้านข้าง 2 ด้าน ตรงกันข้ามเนื้อในเหง้าสีเหลืองส้ม มีกลิ่นเฉพาะ

ใบ ใบเดี่ยว แทงออกมาเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนทับกันรูปใบหอก กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม.

ดอก ช่อ แทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล บานครั้งละ 3-4 ดอก

ผล รูปกลมมี 3 พู

ต้นขมิ้น
ต้นขมิ้น ไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน
ดอกขมิ้น
ดอกขมิ้น กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล

การขยายพันธุ์ของขมิ้น

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ

ธาตุอาหารหลักที่ขมิ้นต้องการ

ประโยชน์ของขมิ้น

  • ตัดแง่งขมิ้นมาพอสมควร นำมาล้างให้สะอาด (ควรทำขั้นตอนนี้ทุกครั้งของการใช้สมุนไพร) แล้วตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำเจือน้ำสุกเท่าตัวนำมาดื่มครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 – 4 ครั้ง หรือเติมเกลือเล็กน้อย เพื่อใช้รักษาอาการท้องร่วง บิด
  • ใช้ผงขมิ้น 1 ช้อนโต๊ะ นำมันผสมกับน้ำมันมะพร้าว 2 – 3 ช้อนโต๊ะ เอามาเคี่ยวด้วยไฟอ่อน จนได้น้ำมันสีเหลือง แล้วนำมาใช้ใส่แผล หรือนำมาพอกบริเวณ ที่ปวดเมื่อย หรือเคล็ดได้
  • นำผงขมิ้นมาผสมน้ำผึ้ง หรือน้ำเชื่อม ปั้นเป็นลูกกลอน ขนาดปลายนิ้วก้อย รับประทาน 2 – 3 เม็ด หลังอาหาร และก่อนนอน เพื่อรักษา อาการโรคกระเพาะ ท้องขึ้น
เหง้าขมิ้น
เหง้าขมิ้น เหง้าใต้ดินรูปไข่มีแขนงรูปทรงกระบอก
ผงขมิ้น
ผงขมิ้น สีเหลืองเข้ม การนำขมิ้นมาบดเป็นผงละเอียด

สรรพคุณทางยาของขมิ้น

ส่วนที่ใช้ : เหง้าแก่สด และแห้ง

สรรพคุณ :

เป็นยาภายใน
– แก้ท้องอืด
– แก้ท้องร่วง
– แก้โรคกระเพาะ

เป็นยาภายนอก
– ทาแก้ผื่นคัน โรคผิวหนัง พุพอง
– ยารักษาชันนะตุและหนังศีรษะเป็นเม็ดผื่นคัน

วิธีและปริมาณที่ใช้

เป็นยาภายใน
เหง้าแก่สดยาวประมาณ 2 นิ้ว เอามาขูดเปลือก ล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียด เติมน้ำ คั้นเอาแต่น้ำ รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง

เป็นยาภายนอก
เหง้าแก่แห้งไม่จำกัดจำนวน ป่นให้เป็นผงละเอียด ใช้ทาตามบริเวณที่เป็นเม็ดผื่นคัน โดยเฉพาะในเด็กนิยมใช้มาก

สารเคมี
ราก และ เหง้า มี tumerone, zingerene bissboline, zingiberene,(+) – sabinene, alpha-phellandrene, curcumone, curcumin

คุณค่าทางโภชนาการของขมิ้น

การแปรรูปของขมิ้น 

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11486&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment