ขางครั่ง
ชื่ออื่นๆ : ขางครั่ง (ลำพูน) ดอกครั่ง (เชียงใหม่) เถาครั่ง (เลย)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dunbaria bella Prain
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE – PAPILIONOIDEAE
ลักษณะของขางครั่ง
ไม้เถาล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นเป็นแท่งกลม ใบ เป็นใบ ประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ รูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 1.5-5 ซม. ยาว 4-12 ซม. ปลายและโคนใบมน แผ่นใบหนาเหนียว คล้ายแผ่นหนัง ดอก สีม่วงดำแกมสีเหลือง ออกเป็นช่อตั้งตามซอกใบ ยาวถึง 25 ซม. ดอกย่อยรูปดอกถั่ว ขนาด 1-1.5 ซม. จำนวนมาก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมกัน ปลายกลีบแยก 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ กลีบบนสีม่วงดำแผ่คลุมกลีบอื่น กลีบข้าง 2 กลีบสีเหลือง รูปไข่กลับ กลีบคู่ล่างเชื่อมกันสีเหลือง ส่วนปลายเรียวและบิดโค้ง ขึ้นเป็นงวง ผล เป็นฝักแบนรูปขอบขนาน กว้าง 0.8-1 ซม. ยาว 5-8 ซม. มีขนและปลายเรียวแหลม เมล็ดกลมขนาดเล็ก
การขยายพันธุ์ของขางครั่ง
เพาะเมล็ด, ปักชำ
ธาตุอาหารหลักที่ขางครั่งต้องการ
ประโยชน์ของขางครั่ง
- ใบอ่อนและช่อดอกรับประทานเป็นผักสดกับน้ำพริก รสฝาด มัน
- เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติ สำหรับแทะเล็มของโค-กระบือ
สรรพคุณทางยาของขางครั่ง
ยาพื้นบ้าน ล้านนา ใช้ใบหรือรากผสมใบโผงเผง บดเป็นผงละเอียดปั้นเป็นยาลูกกลอนกินแก้ไข้ (วงศ์สถิตย์และคณะ, 2539)
คุณค่าทางโภชนาการของขางครั่ง
การแปรรูปของขางครั่ง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10742&SystemType=BEDO
http://202.28.248.55:5010/plantencyclopedia