ขางคันนา ลักษณะกึ่งตั้งกึ่งเลื้อยแผ่คลุมดิน ใช้เป็นสมุนไพรและเลี้ยงสัตว์

ขางคันนา

ชื่ออื่นๆ : ขางคันนา, ขางคันนาแดง (เชียงใหม่) พึงฮวย (ชุมพร) เส่งช้างโชก (กะเหรี่ยง-ลำปาง) หญ้าตืดหมา (ลำปาง) 

ต้นกำเนิด : พบขึ้นในจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ยะลา นราธิวาส นครราชสีมา กาญจนบุรี อุบลราชธานี เพชรบูรณ์ ศรีสะเกษ และขอนแก่น

ชื่อสามัญ : ขางคันนา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : : Desmodium heterocarpon (L.) DC.ssp. heterocarpon var. strigosum Van Meeuwen

ชื่อวงศ์ : Papilionoideae

ลักษณะของขางคันนา

ต้น ลำต้นกึ่งตั้งกึ่งเลื้อยถึงกึ่งแผ่คลุมดิน สูง 50-175 เซนติเมตร ลำต้นสีเขียวอ่อน ส่วนที่ถูกแสงมักมีสีน้ำตาลแดงเข้ม ด้านล่างที่ไม่ถูกแสงมีสีเขียวอ่อน มีขนสีขาวนวลปกคลุมหนาแน่น เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 1.8-5.2 มิลลิเมตร

ใบ ใบมีสีเขียวถึงค่อนข้างเขียวเข้ม หลังใบมีขนสีขาวขึ้นปกคลุมหนาแน่น การจัดเรียงตัวของใบเป็นแบบขนนกมี 3 ใบย่อย (trifoliate) ใบบนสุดเป็นรูปไข่กลับ (obovate) หรือรูปไข่กลับแกมใบหอก (obovate-lanceolate) ส่วนใบด้านข้างเป็นรูปไข่กลับ และรูปวงรี (oval) ใบบนสุดมีขนาดกว้าง 1.6-2.8 เซนติเมตร ยาว 3.0-3.5 เซนติเมตร ใบด้านข้างกว้าง 1.1-2.0 เซนติเมตร ยาว 2.3-4.0 เซนติเมตร ก้านใบยาว 1.4-2.2 เซนติเมตร หูใบ (stipule) สีน้ำตาลถึงน้ำตาลแดงเข้ม

ดอก ออกดอกที่ปลายยอด การออกดอกเป็นแบบ Indeterminate กลีบดอกสีม่วงหรือม่วงปนขาวนวล อับเรณู (anther) สีเหลืองปนน้ำตาล ก้านอับเรณู (filament) สีแดง เกสรเพศเมีย (stigma) สีเหลืองอ่อนปนเขียว ก้านเกสรเพศเมีย (style) สีเขียว ช่อดอกยาว 4.3-5.8 เซนติเมตร มีดอกย่อย 43-90 ดอก ฝักยาว 1.3-3.0 เซนติเมตร มีขน และคอดหักเป็นข้อๆ แต่ละฝักมีเมล็ด 4-9 เมล็ด บางช่อดอกย่อยฝักจะมีเมล็ดเพียง 1 เมล็ด ออกดอกติดเมล็ดดีมาก PC 271 จะออกดอกติดเมล็ดเร็วกว่า PC 174 เริ่มออกดอกตั้งแต่เดือนพฤษภาคม แต่จะออกดอกมากในช่วงเดือน สิงหาคมเดือนกันยายน

ต้นขางคันนา
ต้นขางคันนา ลำต้นสีเขียวอ่อน มีขนสีขาวนวลปกคลุมหนาแน่น
ดอกขางคันนา
ดอกขางคันนา กลีบดอกสีม่วงหรือม่วงปนขาวนวล

การขยายพันธุ์ของขางคันนา

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ขางคันนาต้องการ

ประโยชน์ของขางคันนา

  • ไม้ดอกไม้ประดับ ดอกมีสีสวยปลูกเป็นไม้ประดับได้
  • เป็นพืชอาหารสัตว์

สรรพคุณทางยาของขางคันนา

  • เป็นพืชสมุนไพร ยาพื้นบ้านในภาคเหนือ ใช้ใบและลำต้น ต้มน้ำอาบ แก้บวมพอง ตำรายาไทยระบุว่า มีรสเมาเฝื่อน เป็นยาขับปัสสาวะ แก้กาฬมูตร แก้เด็กตัวร้อน แก้โรคลำไส้ ขับพยาธิทุกชนิด (วงศ์สถิตย์ และคณะ, 2539)

คุณค่าทางโภชนาการของขางคันนา

การแปรรูปของขางคันนา

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12084&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment