จิงจ้อเหลือง
ชื่ออื่นๆ : จิงจ้อขน จิงจ้อหลวง จิงจ้อใหญ่
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : จิงจ้อเหลือง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Merremia vitifolia Haller f.
ชื่อวงศ์ : CONVOLVULACEAE
ลักษณะของจิงจ้อเหลือง
ไม้เถา มักทอดเลื้อยต่ำๆ ลำต้นกลม ตามกิ่งก้านมีขนแข็งสีขาว หรือสีน้ำตาลอ่อน กระจายทั่วไป ใบเป็นใบเดี่ยว รูปเกือบกลม กว้าง 5-16 ซม. ยาว 5-18 ซม. โคนใบรูปหัวใจ ขอบใบจักเป็นแฉกรูปพัด 5-7 แฉก ปลายแหลมและมีติ่งสั้น มีขนประปรายทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 2-15 ซม. ดอกสีเหลืองสด ออกเป็นช่อตามง่ามใบ มักมี 1-3 ดอก ก้านช่อดอกยาว 1-15 ซม. ก้านดอกยาว 0.8-2 ซม. กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยปากแตร กว้าง 4-6 ซม. ที่กลางกลีบมีเส้นแขนง เป็นแถบเห็นได้ชัด อับเรณูบิดเป็นเกลียว ผลแห้งกึ่งกลม ขนาดยาว 10-25 มม. ผิวค่อนข้างหนาคล้ายแผ่นหนัง สีคล้ายฝาง มีช่องเปิด 4 ช่อง เมล็ดมี 4 เมล็ดหรือน้อยกว่า ยาว 6-7 มม. สีดำหรือน้ำตาลดำ ผิวเกลี้ยง
การขยายพันธุ์ของจิงจ้อเหลือง
ใช้เมล็ด/โดยการเพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่จิงจ้อเหลืองต้องการ
ประโยชน์ของจิงจ้อเหลือง
ยอดอ่อน ดอก นำมาลวกรับประทานร่วมกับน้ำพริก นำมาใช้เป็นไม้ประดับสวน เป็นสมุนไพรรักษาทางเดินปัสสาวะอักเสบ แก้ตาอักเสบ ช่วยย่อยอาหาร
สรรพคุณทางยาของจิงจ้อเหลือง
ทั้งต้น ทุบทาแผลสด รมควันแก้น้ำกัดเท้า รมแก้พิษบุ้ง เข้ายาอาบ แก้ผื่นคัน แก้ปวดเมื่อย
ดอก ผสมไพลต้มอาบก่อนคลอดทำให้คลอดง่าย เครือ ใช้รมแผลบวม
คุณค่าทางโภชนาการของจิงจ้อเหลือง
การแปรรูปของจิงจ้อเหลือง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9310&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com