ขี้หนอนเถา
ชื่ออื่นๆ : ขี้หนอน (อำนาจเจริญ)เถาขี้หนอน (ชลบุรี) ขี้หนอนเถา (เชียงใหม่) ถั่วแปบ (นครราชสีมา) พังกระต่าย (อ่างทอง)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : ถั่วแปบ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cajanus scarabaeoides (L.) Thouars var. scarabaeoides
ชื่อวงศ์ : Papilionoideae
ลักษณะของขี้หนอนเถา
ต้น ไม้เถาล้มลุกเลื้อยพันยาว 1.0 – 1.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 2 – 4 มิลลิเมตร มีขนสั้นๆปกคลุมหนาแน่นมาก
ใบ ใบประกอบแบบขนนกมีใบย่อย 3 ใบเรียงสลับ ใบบนสุดรูปไข่กลับกว้าง 2.4 – 3.3 เซนติเมตร ยาว 2.7 -3.7 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบรูปลิ่ม ใบย่อยคู่ข้างรูปไข่กลับเบี้ยว กว้าง 1.9 – 2.4 เซนติเมตร ยาว 2.1 – 2.9 เซนติเมตร ก้านใบยาว 3.0 – 4.5 เซนติเมตร หน้าใบและหลังใบมีขนสั้นๆปกคลุมหนาแน่น
ดอก ออกดอกตามซอกใบ มีดอกย่อย 1 – 6 ดอก กลีบดอกรูปดอกถั่ว สีเหลืองอ่อน ผลเป็นฝักรูปขอบขนาน มีขนสั้นๆสีน้ำตาลปกคลุมหนาแน่น ฝักยาว 1.8 – 2.3 เซนติเมตร กว้าง 0.6 – 0.7 เซนติเมตร
ผล รูปขอบขนาน กว้าง 0.8 เซนติเมตร ยาว 2-2.5 เซนติเมตร มีขนสีน้ำตาล ปกคลุมแน่น แก่แล้วแตก เมล็ด รูปกลมแบน มี 3-6 เมล็ด
การขยายพันธุ์ของขี้หนอนเถา
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ขี้หนอนเถาต้องการ
ประโยชน์ของขี้หนอนเถา
สมุนไพรยาพื้นบ้านอีสานใช้ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม แก้นิ่ว (จิรายุพิน และคณะ, 2542)
สรรพคุณทางยาของขี้หนอนเถา
–
คุณค่าทางโภชนาการของขี้หนอนเถา
การแปรรูปของขี้หนอนเถา
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12082&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com